วิกิพีเดีย:คู่มือในการเขียน

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เว็บย่อ:
WP:MOS
คู่มือในการเขียน
นโยบาย
นโยบาย
อะไรที่ไม่ใช่วิกิพีเดีย
คู่มือพื้นฐาน
หลักการตั้งชื่อบทความ
เขียนให้ดียิ่งขึ้น
เขียนไม่ให้ละเมิดลิขสิทธิ์
เขียนให้เป็นกลาง
วิธีใช้
การแก้ไขหน้า
การจัดหน้าโดยใช้แม่แบบช่วย
การอัปโหลดภาพ
การใส่ภาพ
การสร้างตาราง
การจัดหมวดหมู่
การสร้างหน้าเปลี่ยนทาง
การใส่ลิงก์
การลิงก์มาที่วิกิพีเดีย
การแทรกสูตรคณิตศาสตร์
อธิบาย
การแก้ไขเล็กน้อย
คำอธิบายอย่างย่อ
การทับศัพท์
คำทับศัพท์ในวิกิพีเดีย
อ่าน/เขียน คำทับศัพท์
ชื่อทะเล
ชื่อประเทศ-เมืองหลวง
ชื่อธาตุ
ถอดเสียงอังกฤษเป็นไทย
ถอดอักษรไทยเป็นโรมัน
อ้างอิง
การอ้างอิงแหล่งที่มา
ศัพท์บัญญัติ
สีที่ใช้ในเว็บ
แม่แบบ
แม่แบบ
โครง
แม่แบบแสดงข้อความ
แม่แบบเชื่อมโยงหัวข้อ
วิธีการสร้างแม่แบบ
บทความเฉพาะทาง
บทความฝรั่งเศส
บทความพฤกษา
บทความการ์ตูนญี่ปุ่น
บทความการทหาร
บทความเพลง

คู่มือในการเขียน (สร้างขึ้นโดยเทียบกับ Manual of Style) ในวิกิพีเดียเป็นแนวทางในการเขียน ให้ผู้อ่านสามารถอ่านในรูปแบบที่เข้าใจได้ง่าย พึงนึกเสมอว่า หลักการตั้งชื่อนี้เป็นแนวทางในการตั้งชื่อเพื่อให้ชื่อบทความง่ายต่อการเข้าใจตรงกัน ซึ่งไม่ใช่กฎเหล็ก โดยเมื่อวิกิพีเดียเติบโตได้ระดับหนึ่ง ข้อแนะนำต่างๆ ที่ไม่เป็นที่นิยม อาจลดหายไป

ก่อนอื่นเนื่องจากวิกิพีเดียคือสารานุกรม ลองอ่านที่ นโยบาย และ อะไรที่ไม่ใช่วิกิพีเดีย เมื่อมีข้อสงสัยให้ตั้งตามบทความต่อไปนี้

ยังมีประเด็นเกี่ยวกับคู่มือการเขียน ที่ยังไม่ได้เป็นที่ตกลงกันอีกเป็นจำนวนมาก สามารถดูได้ในหน้า คุยเรื่องวิกิพีเดีย:คู่มือในการเขียน ความคิดเห็นต่างๆ ในหน้าอภิปรายนั้นเป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้ร่วมอภิปราย และไม่ใช่แนวทางอย่างเป็นทางการของวิกิพีเดีย

เนื้อหา

ชื่อบทความ

ดูบทความหลักที่ วิกิพีเดีย:หลักการตั้งชื่อบทความ
  • ชื่อบทความ ควรเป็นภาษาไทย และเป็นคำนาม
  • สำหรับชื่อเฉพาะ เช่น ชื่อคน ชื่อสถานที่ หรือชื่อสิ่งของ ให้ใช้ชื่อที่เป็นชื่อนิยม เป็นชื่อที่คนอื่นจะค้นหาเป็นอันดับแรก เพื่อสะดวกต่อการค้นหา
  • ชื่อบทความที่ปรากฏในส่วนเนื้อหาครั้งแรกให้ทำตัวเน้น และเว้นวรรคระหว่างชื่อกับเนื้อหาหนึ่งครั้ง '''ชื่อบทความ''' ถึงแม้ว่าชื่อบทความจะเป็นชื่อย่อของเนื้อหานั้น ให้เน้นชื่อเต็มทั้งหมด
    • ตัวอย่าง จากบทความ ไอแซก นิวตัน
      • เซอร์ไอแซก นิวตัน (Sir Isaac Newton) เป็นนักคณิตศาสตร์ นักดาราศาสตร์ นักปรัชญา และนักเล่นแร่แปรธาตุชาวอังกฤษ ...
  • สำหรับบทความที่มีสองชื่อ ซึ่งอาจเป็นบทความที่แปลมาจากภาษาอื่น ให้ทำตัวเน้น ชื่อทั้งสองของบทความ

เวลา วัน เดือน ปี

  • รูปแบบเวลาอย่างย่อ ให้ใช้รูปแบบ hh:mm:ss (h: ชั่วโมง, m: นาที, s: วินาที) โดยใช้ : (ทวิภาค) แทนการใช้ . (มหัพภาค)
  • ถ้าเลขตัวหน้าสุดมีเพียงหนึ่งหลัก ไม่ต้องใส่ 0 นำหน้า ส่วนเลขกลุ่มอื่น ให้ใส่ 0 จนครบสองหลัก
  • ถ้าใช้บอกจุดเวลาของวัน ให้เติม น. (นาฬิกา) ลงท้าย
    • ตัวอย่าง
      • 18:39:52 (18 ชั่วโมง 39 นาที 52 วินาที)
      • 1:05:00 (1 ชั่วโมง 5 นาที 0 วินาที)
      • 2:30 (อาจหมายถึง 2 ชั่วโมง 30 นาที หรือ 2 นาที 30 วินาที ขึ้นอยู่กับบริบท)
      • 15:30 น. (15 นาฬิกา 30 นาที)
  • เขียนปีในรูปแบบของ พ.ศ. โดยเว้นวรรคหนึ่งครั้งระหว่างคำย่อและตัวเลข
    • ตัวอย่าง
      • พ.ศ. 2551
  • สำหรับปี ค.ศ. ที่มีความสำคัญ ในทางความหมาย ให้เขียนกำกับในวงเล็บด้านหลัง หรือเขียนเฉพาะปี ค.ศ.
  • ทศวรรษ เขียนระหว่าง พุทธทศวรรษ และ คริสต์ทศวรรษ โดยไม่มีคำว่า "ที่" ตามหลัง

ตัวเลข

  • เนื้อหาในบทความให้ใช้เลขอารบิก (0 1 2 3..9) เป็นหลัก
    • ยกเว้นเมื่อจำเป็นต้องคงรูปเลขอื่นไว้ เช่น เลขไทย (วันทางจันทรคติ อักษรย่อที่ใช้เลขไทย) หรือเลขโรมัน (ทางคณิตศาสตร์และวิทยาศาสตร์) เป็นต้น
  • สำหรับเอกสารต้นฉบับที่ยกมาไว้ในเครื่องหมายคำพูด และไม่มีการจัดรูปแบบหรือเขียนใหม่ สามารถคงเลขอื่นนอกจากเลขอารบิกไว้ได้ เพื่อการอ้างอิง
  • เว้นวรรค หน้าและหลัง กลุ่มตัวเลขเสมอ เพื่อแยกออกจากข้อความรอบข้าง ยกเว้นอักษรย่อที่มีตัวเลขติดอยู่ตามปกติ
    • ราคา 500 บาท
    • ลำต้นสูง 1-2 เมตร
    • วิตามินบี12 (ตัวเลขติดอักษร)
    • โนเกีย เอ็น8 (ตัวเลขติดอักษร)
  • ใช้จุลภาคเป็นเครื่องหมายคั่นหลักพัน ยกเว้นปีศักราชต่างๆ และใช้มหัพภาคเป็นจุดทศนิยม
  • ใช้เครื่องหมายลบ − (U+2212) แทนจำนวนลบหรือการดำเนินการลบ ไม่ควรใช้ยัติภังค์ -
  • สูตรคณิตศาสตร์ที่ซับซ้อนไม่ควรเขียนเป็นข้อความบรรทัดเดียว ควรใช้ส่วนขยายสูตรคณิตศาสตร์ของมีเดียวิกิ
  • จำนวนเลขน้อยอาจเปลี่ยนเป็นคำเต็มแทนเพื่อไม่ให้ข้อความอ่านสะดุด

รูปแบบการจัดหน้า

ดูบทความหลักที่ รูปแบบการจัดหน้า

คำทับศัพท์

ดูบทความหลักที่ คำทับศัพท์ในวิกิพีเดีย และ การเขียนคำทับศัพท์ตามระบบของราชบัณฑิตยสถาน

สำหรับคำทับศัพท์ที่ใช้บ่อย วิกิพีเดียมีตัวอย่างรายการคำทับศัพท์ ที่ใช้ตามตัวอย่าง

ประเทศ ภาษา บุคคล

  • ชื่อภาษา และชื่อบุคคล จากต่างประเทศ ให้ใช้ชื่อตามชื่อประเทศ
    • ตัวอย่าง
      • ชาวสวีเดน (ไม่ใช้ ชาวสวีดิช)
      • ภาษาสวีเดน (ไม่ใช้ ภาษาสวีดิช)
      • ชาวเวลส์ (ไม่ใช้ ชาวเวลช์)
      • ภาษาอิตาลี (ไม่ใช้ ภาษาอิตาเลียน)
  • ยกเว้น ชื่อที่มีการใช้มานานจนเป็นที่ยอมรับ หรือปรากฏในพจนานุกรมภาษาไทย อาทิ
    • เยอรมัน กรีก ไอริช สกอต ดัตช์ สวิส อังกฤษ อเมริกัน

ไม่เว้นวรรคระหว่างคำทับศัพท์

  • คำที่มาจากภาษาต่างประเทศ ถ้ามีการเว้นวรรคระหว่างคำ ให้เขียนติดกันเป็นคำเดียว
  • ยกเว้น คำที่เป็นชื่อเฉพาะ โดยขึ้นอยู่กับต้นฉบับของข้อมูล สำหรับคำที่ยังไม่มีการกำหนด ตัดสินว่าถ้าแยกคำแล้วทำให้เกิดความเข้าใจผิดได้ให้เขียนติดกันเป็นคำเดียว

ชื่อผลิตภัณฑ์

  • สำหรับผลิตภัณฑ์ที่มีการทำตลาดในประเทศไทยและมีชื่อภาษาไทย ให้ยึดตามที่เจ้าของผลิตภัณฑ์หรือผู้แทนจำหน่ายใช้

ชื่อทีมกีฬา

การเขียนกำกับต่างภาษา

การกำกับวิธีออกเสียงคำ

  • การเขียนตัวอักษรคำ ให้ใช้สัญลักษณ์ของ IPA โดยอาจเขียนคำไทยที่เสียงใกล้เคียงกำกับ สำหรับภาษาจีนให้ใช้ พินอิน และภาษาญี่ปุ่นให้ใช้ โรมะจิ กำกับเพิ่ม
    • ตัวอย่าง
      • ภาษาฝรั่งเศส (ฝรั่งเศส: français, อังกฤษ: French, IPA: fʁɑ̃sɛ) หนึ่งในภาษากลุ่มโรมานซ์ที่สำคัญที่สุด ...
      • โตเกียว (ญี่ปุ่น: 東京 Tōkyō ?) เป็นเมืองหลวงของประเทศญี่ปุ่น ...
      • โจวเหวินฟะ (จีน: 周潤發, พินอิน: Zhōu Rùnfā) หนึ่งในสุดยอดนักแสดงฮ่องกงที่ ได้ก้าวเข้าสู่วงการภาพยนตร์นานาชาติ ...

การกำกับคำทับศัพท์

  • คำทับศัพท์ทั่วไป ให้เขียนตามหลักของภาษานั้นๆ
    • คำสามานยนามภาษาอังกฤษให้ใช้ตัวอักษรพิมพ์เล็กทั้งหมด ส่วนคำวิสามานยามขึ้นต้นตัวใหญ่หรือสะกดตามต้นฉบับ
    • ในภาษาเยอรมันกรณีที่เป็นคำนามให้ขึ้นต้นด้วยตัวอักษรพิมพ์ใหญ่
  • สำหรับ คำทับศัพท์ภาษาต่างประเทศ ที่ต้องการแสดงที่มาของคำนั้น ให้เขียนคำภาษาต่างประเทศในวงเล็บตามหลังชื่อบทความ โดยขึ้นต้นด้วยตัวอักษรพิมพ์ใหญ่สำหรับชื่อเฉพาะและชื่อบุคคล
    • ตัวอย่าง
      • สตีเฟน พอล จอบส์ (Steven Paul Jobs) ผู้บริหารระดับสูงของ แอปเปิล คอมพิวเตอร์ และ พิกซาร์แอนิเมชันสตูดิโอส์ ...
      • มหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย เบิร์กลีย์ (University of California, Berkeley) เป็นมหาวิทยาลัยรัฐ ตั้งอยู่ในเมืองเบิร์กลีย์ รัฐแคลิฟอร์เนีย ...
      • ไบโอดีเซล (biodiesel) เป็นเชื้อเพลิงดีเซลที่ผลิตจากแหล่งทรัพยากรหมุนเวียน เช่น น้ำมันพืช ...
  • สำหรับ คำสามานยนามภาษาไทย ที่ไม่ได้ทับศัพท์มาจากภาษาต่างประเทศ ไม่จำเป็นต้องมีคำศัพท์ภาษาอังกฤษหรือภาษาอื่นกำกับ
    • ตัวอย่าง
      • ปลา เป็นสัตว์เลือดเย็น มีกระดูกสันหลัง ส่วนใหญ่หายใจทางเหงือก ...
      • ไม่ใช้ ปลา (fish) เป็นสัตว์เลือดเย็น มีกระดูกสันหลัง ส่วนใหญ่หายใจทางเหงือก ...
      • ไม่ใช้ ปลา (鱼) เป็นสัตว์เลือดเย็น มีกระดูกสันหลัง ส่วนใหญ่หายใจทางเหงือก ...

เครื่องหมายวรรคตอน

จุลภาค (,)

  • ปกติแล้วภาษาไทยไม่ใช้เครื่องหมาย จุลภาค (ลูกน้ำ " , ") คั่นคำในรายการ
    • ตัวอย่าง
    • แม่สีหลักประกอบด้วย สีแดง สีน้ำเงิน และสีเหลือง
    • ไม่ใช้ แม่สีหลักประกอบด้วย สีแดง, สีน้ำเงิน, และสีเหลือง
  • เว้นแต่: ใช้เพื่อแบ่ง "คำที่มีเว้นวรรคภายในคำ" เพราะมิฉะนั้นอาจทำให้แบ่งคำหรือวลีสับสน
    • ตัวอย่าง
    • นายกรัฐมนตรีไทย ได้แก่ ชวน หลีกภัย, บรรหาร ศิลปอาชา, ชวลิต ยงใจยุทธ, ทักษิณ ชินวัตร, สุรยุทธ์ จุลานนท์
    • ไม่ใช้ นายกรัฐมนตรีไทย ได้แก่ ชวน หลีกภัย บรรหาร ศิลปอาชา ชวลิต ยงใจยุทธ ทักษิณ ชินวัตร สุรยุทธ์ จุลานนท์
  • เมื่อจัดรูปแบบแบบรายการแล้ว ไม่ควรปิดท้ายรายการด้วยจุลภาคอีก
  • ภาษาไทยใช้จุลภาคเป็นเครื่องหมายคั่นหลักพันสำหรับจำนวนตัวเลข ยกเว้นปีศักราชต่างๆ เช่น พ.ศ. 2552 ฯลฯ

มหัพภาค (.)

  • ปกติแล้วภาษาไทยไม่ใช้เครื่องหมาย มหัพภาค (จุด " . ") เมื่อจบประโยค
  • มหัพภาคที่ใช้กำกับอักษรย่อ ควรเว้นวรรคหน้าและหลัง "กลุ่มของอักษรย่อ" นั้นหนึ่งช่อง เพื่อไม่ให้ติดกับวลีข้างเคียง (โดยปกติแล้วถ้าใช้คำเต็มอาจเหมาะสมกว่า)
  • มหัพภาคในภาษาไทย มีปรากฏใช้ในพจนานุกรมเพื่อแบ่งอรรถาธิบายของคำศัพท์ หรือใช้เป็นการอ้างอิงหนังสือหรือแหล่งข้อมูลอื่น
    • สมจิตต์ นวเครือสุนทร. ใครว่าผม "อภิสิทธิ์" ?. กรุงเทพฯ : 2550. ISBN 978-974-09-0492-2
  • ภาษาไทยใช้มหัพภาคเป็นจุดทศนิยม (ในขณะที่ภาษาอื่นอาจใช้เครื่องหมายอื่น)

ปรัศนี (?)

  • เช่นเดียวกับเครื่องหมายมหัพภาค ปกติแล้วภาษาไทยไม่ใช้เครื่องหมาย ปรัศนี (เครื่องหมายคำถาม " ? ") เมื่อจบประโยค

นขลิขิต ( )

  • ให้เว้นวรรคนอกเครื่องหมาย นขลิขิต (วงเล็บ " ( ) ") ไม่ให้ติดกับวลีข้างเคียง เช่น
  • หลังจากเปิดวงเล็บ และก่อนปิดวงเล็บ ไม่ต้องเว้นวรรค เช่น
  • หลีกเลี่ยงการใช้นขลิขิตซ้อนกัน ถ้าไม่ใช่สูตรคณิตศาสตร์

ไม้ยมก (ๆ)

ดูเพิ่มที่ ไม้ยมกและการใช้งาน และ บทพูดคุยเกี่ยวกับการใช้ไม้ยมกในวิกิพีเดีย
  • ให้เว้นวรรคหน้าและหลังไม้ยมกเสมอ เว้นแต่จะอยู่ติดกับเครื่องหมายวรรคตอน

ดูเพิ่ม