พระมหากษัตริย์ไทย

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

กษัตริย์แห่งราชอาณาจักรไทย
Thai Garuda emblem.svg
ตราแผ่นดินของไทย
พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช
Bhumibol Adulyadej.jpg
พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชทรงฉายภาพใต้พระนพปฎลมหาเศวตฉัตร
อยู่ในวาระ:
9 มิถุนายน พ.ศ. 2489 - ปัจจุบัน
รัชทายาท: สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิราลงกรณ สยามมกุฎราชกุมาร
พระองค์แรก: พ่อขุนศรีอินทราทิตย์
ก่อตั้ง: พ.ศ. 1781

กษัตริย์ไทย เป็นหมายความถึงราชาธิปไตยและราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญของราชอาณาจักรของคนไทยในอดีต มาจนถึงประเทศไทยในปัจจุบัน

กษัตริย์ไทยเป็นประมุขแห่งรัฐของประเทศไทย และเป็นผู้นำราชวงศ์จักรีในปัจจุบัน มีที่ประทับอย่างเป็นทางการ คือ พระบรมมหาราชวัง กรุงเทพมหานคร และเนื่องจากว่า ประเทศไทยมีการปกครองในรูปแบบราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญ พระราชอำนาจถูกจำกัดโดยรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย โดยทรงเป็นผู้ใช้อำนาจอธิปไตยแต่เพียงในนามเท่านั้น อย่างไรก็ตาม สถาบันกษัตริย์ไทยก็ยังคงได้รับความเคารพนับถือจากประชาชนชาวไทยเป็นอย่างมาก

กษัตริย์องค์ปัจจุบันของไทย คือ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช หรือเรียกว่า "รัชกาลที่ 9" ทรงครองราชสมบัติเมื่อวันที่ 9 มิถุนายน พ.ศ. 2489 ทำให้พระองค์ทรงเป็นกษัตริย์ที่ทรงราชย์ในฐานะประมุขแห่งรัฐที่นานที่สุดในโลก อำนาจของกษัตริย์ถูกใช้ผ่านทางรัฐสภา คณะรัฐมนตรี และศาล แต่ตามรัฐธรรมนูญแล้ว พระองค์ก็ยังคงมีพระราชอำนาจอยู่มาก เช่น ทรงดำรงตำแหน่งจอมทัพไทย ทรงมีพระราชอำนาจพิเศษในพระบรมราชานุมัติ และการพระราชทานอภัยโทษ ทรงเป็นพุทธมามกะและอัครศาสนูปถัมภก

ถึงแม้ว่าพระราชอำนาจของกษัตริย์จะลดลงหลังจากการปฏิวัติในปี พ.ศ. 2475 แต่รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรสยามและราชอาณาจักรไทยทุกฉบับได้ระบุถึงกษัตริย์ไว้ว่า "[พระองค์] ทรงดำรงอยู่ในฐานะอันเป็นที่เคารพสักการะ ผู้ใดจะละเมิดมิได้" นอกจากนั้น รัฐธรรมนูญยังได้บัญญัติให้กษัตริย์และพระราชวงศ์ไม่สามารถถูกดำเนินคดีตามกฎหมายได้ไม่ว่าในกรณีใด ๆ อีกทั้งยังถูกคุ้มครองอยู่ภายใต้กฎหมายอาญาอันเป็นที่รู้จักกันในประเทศตะวันตกว่า กฎหมายว่าด้วยการหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ ทำให้การประทุษร้าย การดูหมิ่น การหมิ่นประมาทและการอาฆาตมาดร้ายต่อกษัตริย์ถือว่าความผิดตามกฎหมาย[1]

รัชทายาทผู้มีสิทธิโดยตรงพระองค์ปัจจุบันของกษัตริย์ไทย หรือสยามมกุฎราชกุมาร คือ สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิราลงกรณ อันเป็นไปตามกฏมณเฑียรบาลว่าด้วยการสืบราชสันตติวงศ์ พ.ศ. 2467 โดยรูปแบบของการสืบราชสันติวงศ์จะสืบทอดจากพระราชบิดาไปสู่พระราชบุตรตามสิทธิของบุตรคนแรกที่เป็นชายเท่านั้น อย่างไรก็ตาม รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยสองฉบับสุดท้ายได้แก้ไขบัญญัติของกฎมณเฑียรบาล โดยทำให้พระราชบุตรีสามารถสืบราชสันติวงศ์ได้ด้วยเช่นกัน

เนื้อหา

[แก้] ประวัติ

[แก้] จุดกำเนิด

รูปแบบการปกครองแบบราชาธิปไตยของประเทศไทยได้พัฒนาขึ้นมาตลอด 800 ปี ภายใต้การปกครองแบบสมบูรณาญาสิทธิราช โดยกษัตริย์ไทยพระองค์แรกที่สามารถรวบรวมดินแดนจนเป็นปึกแผ่นเป็นอาณาจักรสุโขทัย โดยมีพ่อขุนศรีอินทราทิตย์เป็นปฐมกษัตริย์ แนวคิดการปกครองแบบราชาธิปไตยสมัยแรกเริ่มตั้งอยู่บนพื้นฐานของศาสนาฮินดู (ซึ่งรับเข้ามาจากจักรวรรดิขะแมร์) และหลักความเชื่อแบบพระพุทธศาสนานิกายเถรวาท ซึ่งแนวคิดแรกนั้นมาจากวรรณะ "กษัตริย์" ของศาสนาฮินดู เนื่องจากกษัตริย์จะได้รับอำนาจมาจากอำนาจทางทหาร ส่วนแนวคิดที่สองมาจากแนวคิด "ธรรมราชา" ของพระพุทธศาสนานิกายเถรวาท หลังจากที่พระพทุธศาสนาเข้ามาในประเทศไทยในราวคริสต์ศตวรรษที่หก อันเป็นแนวคิดที่ว่ากษัตริย์ควรจะปกครองประชาชนโดยธรรม

ในสมัยกรุงสุโขทัย มีการปกครองแบบพ่อปกครองลูก กษัตริย์จะมีพระนามขึ้นต้นว่า "พ่อขุน" มีความใกล้ชิดระหว่างกษัตริย์กับประชาชนมาก หลังจากรัชกาลพ่อขุนรามคำแหงมหาราชแล้ว กษัตริย์สุโขทัยมีพระนามขึ้นต้นว่า "พญา" เพื่อยกฐานะกษัตริย์ให้สูงขึ้น ในรัชกาลพญาลิไท พระพุทธศาสนาลัทธิลังกาวงศ์ เฟื่องฟูมาก จึงมีแนวคิด ธรรมราชา ตามคติพุทธขึ้นมา ทำให้พระนามขึ้นต้นของกษัตริย์ตั้งแต่รัชกาลพญาลิไทเรียกว่า "พระมหาธรรมราชา" ในสมัยกรุงศรีอยุธยา ได้รับคติพราหมณ์มาจากขอม เรียกว่า เทวราชา หรือ สมมติเทพ หมายถึงกษัตริย์ทรงเป็นเทพมาอวตารเพื่อปกครองมวลมนุษย์ ทำให้ชนชั้นกษัตริย์มีสิทธิอำนาจมากที่สุดในอาณาจักร และห่างเหินจากชนชั้นประชาชนมากขึ้น คำขึ้นต้นพระนามเรียกว่า "สมเด็จ" หลังการเปลี่ยนแปลงการปกครองเป็นระบอบประชาธิปไตย พระราชอำนาจด้านการปกครองถูกโอนมาเป็นของรัฐบาลพลเรือนและทหาร กษัตริย์จะทรงใช้พระราชอำนาจผ่านฝ่ายนิติบัญญัติ บริหาร และตุลาการ

[แก้] รายชื่อราชวงศ์ของคนไทยในอดีต

[แก้] ดูเพิ่ม

[แก้] อ้างอิง

  1. ^ ศูนย์นิติศาสตร์ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์. ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 107-112

[แก้] แหล่งข้อมูลอื่น

Scale of justice.svg พระมหากษัตริย์ไทย เป็นบทความเกี่ยวกับ การเมือง การปกครอง หรือ กฎหมาย ที่ยังไม่สมบูรณ์ ต้องการตรวจสอบ เพิ่มเนื้อหาหรือเพิ่มแหล่งอ้างอิง คุณสามารถช่วยเพิ่มเติมหรือแก้ไข เพื่อให้สมบูรณ์มากขึ้น
ข้อมูลเกี่ยวกับ พระมหากษัตริย์ไทย ในภาษาอื่น อาจสามารถหาอ่านได้จากเมนู ภาษาอื่น ด้านซ้ายมือ
ภาษาอื่น