สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิราลงกรณ สยามมกุฎราชกุมาร

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

20060609-112602-King-60th.jpg
สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิราลงกรณ สยามมกุฎราชกุมาร
พระนามเต็ม สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร สิริกิตยสมบูรณสวางควัฒน์ วรขัตติยราชสันตติวงศ์ มหิตลพงศอดุลยเดช จักรีนเรศยุพราชวิสุทธิ สยามมกุฎราชกุมาร
พระอิสริยยศ สยามมกุฎราชกุมาร,เจ้าฟ้า
ฐานันดรศักดิ์ สมเด็จพระยุพราช
ราชวงศ์ ราชวงศ์จักรี

พลเอก พลเรือเอก พลอากาศเอก สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิราลงกรณ สยามมกุฎราชกุมาร พระราชโอรสพระองค์เดียวในพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช และสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ ทรงเป็นสยามมกุฎราชกุมารพระองค์แรก ในสมัยการปกครองระบอบประชาธิปไตยของประเทศไทย

เนื้อหา

[แก้] พระราชประวัติ

[แก้] วันพระราชสมภพ

สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิราลงกรณ สยามมกุฎราชกุมาร มีพระนามเดิมว่า สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้าวชิราลงกรณ บรมจักรยาดิศรสันตติวงศ เทเวศรธำรงสุบริบาล อภิคุณูประการมหิตลาดุลเดช ภูมิพลนเรศวรางกูร กิตติสิริสมบูรณ์สวางควัฒน์ บรมขัตติยราชกุมาร เป็นพระราชโอรสพระองค์เดียว ในพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช และสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระราชสมภพ เมื่อวันจันทร์ ที่ 28 กรกฎาคม พ.ศ. 2495 เวลา 17 นาฬิกา 45 นาที ณ พระที่นั่งอัมพรสถาน พระราชวังดุสิต

[แก้] พระราชพิธีสมโภชเดือน

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวโปรดเกล้าฯ ให้จัดพระราชพิธีสมโภชเดือนขึ้นพระอู่ขึ้น ณ พระที่นั่งอัมพรสถาน พระราชวังดุสิต ในวันที่ 15 กันยายน พ.ศ. 2495โดยสมเด็จพระวชิรญาณวงศ์ สมเด็จพระสังฆราชเจ้าทรงเป็นประธานเจริญพระพุทธมนต์ในเย็นวันที่ 14 กันยายน พ.ศ. 2495 เช้าวันรุ่งขึ้น (15 กันยายน) จึงมีพิธีสงฆ์และพิธีพราหมณ์ในห้องพิธี เริ่มด้วยพอถึงพระฤกษ์ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงจรดพระกรรบิดกริบพระเกศา ทรงเจิม ทรงผูกด้ายพระขวัญ พระสงฆ์สวดชัยมงคลคาถา พราหมณ์ประกอบพิธีลอยกุ้ง ปลาทอง มะพร้าวเงิน มะพร้าวทองลงในพระขันสาคร แล้วพระสงฆ์ถวายอดิเรก ถวายพระพรลา พระมหาราชครูเชิญเสด็จขึ้นพระอู่และเห่กล่อมเปิดศิวาลัยไกรลาศตามประเพณีพิธีของพราหมณ์ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงวางพระราชภัณฑ์ลงในพระอู่ตามพระราชประเพณีแล้ว พระมหาราชครูเชิญสมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้าวชิราลงกรณ ฯ ขึ้นพระอู่แล้ว พระบรมวงศานุวงศ์และข้าทูลละอองธุลีพระบาทเวียนเทียนครบรอบตามประเพณี สภาวัฒนธรรมแห่งชาติได้จัดขับไม้มโหรีขับกล่อมถวายพระพรในวาระนี้ด้วย ในการนี้มีการถ่ายทอดเสียงในพระราชพิธีทางวิทยุไปทั่วประเทศ [1] [2]

[แก้] สมเด็จพระยุพราช

เมื่อทรงมีพระชนมายุครบ ๒๐ ชันษา พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้สถาปนา สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้าวชิราลงกรณ ขึ้นเป็น สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิราลงกรณ สยามมกุฎราชกุมาร เมื่อวันที่ 28 ธันวาคม พ.ศ. 2515 ตามจารึกในพระสุพรรณบัฏว่า "สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร สิริกิตยสมบูรณสวางควัฒน์ วรขัตติยราชสันตติวงศ์ มหิตลพงศอดุลยเดช จักรีนเรศยุพราชวิสุทธิ สยามมกุฎราชกุมาร" [3][4]

และเมื่อทรงมีเจริญวัยอันควรจึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เฉลิมพระราชอิสริยยศแต่งตั้งเป็น สมเด็จพระยุพราช สยามมกุฎราชกุมาร หรือ องค์รัชทายาท

[แก้] พระราชภารกิจด้านการศึกษา

[แก้] การศึกษาเบื้องต้น

ทรงสำเร็จการศึกษาขั้นต้นในระดับอนุบาล รุ่นที่ ๒ จากโรงเรียนจิตรลดา แล้วจึงเสด็จฯ ไปทรงศึกษาต่อในระดับประถมศึกษาที่โรงเรียนคิงส์มีด แคว้นซัสเซกส์ และในระดับมัธยมศึกษาที่โรงเรียนมิลฟิลด์ แคว้นซอมเมอร์เซท ประเทศอังกฤษ

[แก้] การศึกษาวิชาทหาร

หลังจากนั้นเมื่อทรงสำเร็จการศึกษาเบื้องต้นแล้ว ได้ทรงศึกษาต่อวิชาทหารที่โรงเรียนคิงส์สกูล ซิดนีย์ ประเทศออสเตรเลีย เมื่อสำเร็จการศึกษาแล้ว ได้ทรงการศึกษาต่อในระดับปริญญาตรีสาขาอัษรศาสตร์ (ด้านการทหาร) จากมหาวิทยาลัยนิวเซาท์เวลส์ ประเทศออสเตรเลีย

[แก้] การศึกษาต่อในประเทศไทย

และหลังจากเสด็จกลับประเทศไทย ทรงรับราชการทหาร และศึกษาต่อที่โรงเรียนเสนาธิการทหารบก รุ่นที่ 46 เมื่อ พ.ศ. 2520 และทรงผนวช เมื่อ พ.ศ. 2521 จากนั้นทรงศึกษาที่คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช รุ่นที่ 2 เมื่อ พ.ศ. 2525 และหลักสูตรวิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร จากประเทศอังกฤษ เมื่อ พ.ศ. 2533 [5]

[แก้] การฝึกอบรมวิชาทหาร

[6]

  • เดือนมกราคม ถึงเดือนตุลาคม พ.ศ. ๒๕๑๙ ทรงเข้ารับการฝึกเพิ่มเติม และศึกษางานด้านการทหาร ณ เครือรัฐออสเตรเลีย
  • ทรงเข้ารับการฝึกหลักสูตรวิชาอาวุธพิเศษ การทำลายและยุทธวิธีรบนอกแบบ หลักสูตรต้นหนชั้นสูง หลักสูตรการลาดตระเวน และต้นหนชั้นสูง รวมทั้งหลักสูตรส่งทางอากาศ
  • พ.ศ. ๒๕๒๒ ถึงพ.ศ. ๒๕๒๓ ทรงเข้ารับการฝึกหลักสูตรการฝึกบินเฮลิคอปเตอร์ใช้งานทั่วไป แบบ ยู เอซ - ๑ เอซ ของบริษัท เบลล์

รวมชั่วโมงบิน ๕๔.๓๖ ชั่วโมง

  • เดือนกุมภาพันธ์ ถึงเดือนพฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๒๓ ทรงเข้ารับการฝึกตามโครงการช่วยเหลือทางทหาร กองทัพบกสหรัฐอเมริกา รวม ๖ หลักสูตร ได้แก่ หลักสูตรอาวุธประจำกายและเครื่องยิงลูกระเบิด หลักสูตรการปฏิบัติการพิเศษ หลักสูตรการต่อต้านการก่อการร้าย หลักสูตรการสงครามแบบกองโจร หลักสูตรการฝึกการดำรงชีพ และหลักสูตรส่งทางอากาศ ( ทางบกและทางทะเล )
  • เดือนมิถุนายน ถึงเดือนกรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๒๓ทรงเข้ารับการฝึกหลักสูตรการฝึกบินเฮลิคอปเตอร์ใช้งานทั่วไป แบบ ยู เอซ - ๑ เอซ กับเฮลิคอปเตอร์ใช้งานทั่วไป แบบ ยู เอซ - ๑ เอ็น ของบริษัทเบลล์ รวมชั่วโมงบิน ๒๕๙.๕๖๐ ชั่วโมง
  • เดือนกันยายน ถึงเดือนตุลาคม พ.ศ. ๒๕๒๓ทรงเข้ารับการฝึกหลักสูตรการฝึกบินเฮลิคอปเตอร์โจมตี ติดอาวุธ แบบ ยู เอซ - ๑ เอซ ของบริษัทเบลล์ จากกองทัพไทย รวมชั่วโมงบิน ๕๔.๕๐ ชั่วโมง
  • เดือนธันวาคม พ.ศ. ๒๕๒๓ ถึง พ.ศ. ๒๕๒๔ทรงเข้ารับการฝึกหลักสูตรการฝึกบินเครื่องบินปีกติดลำตัว แบบ Sial - Marchetti SF 120 MT รวมชั่วโมงบิน ๑๗๒.๒๐ ชั่วโมง
  • เดือนมีนาคม ถึงเดือนกรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๒๔ ทรงเข้ารับการฝึกหลักสูตรการฝึกบินเครื่องบินปีกติดลำตัว แบบ Cessna T - 37 รวมชั่วโมงบิน ๒๔๐ ชั่วโมง
  • เดือนตุลาคม ถึงเดือนธันวาคม พ.ศ. ๒๕๒๔ เสด็จพระราชดำเนินไปทอดพระเนตรกิจการทางทหารและตำรวจ ณ สหราชอาณาจักร ราชอาราจักรเบลเยียม ราชอาณาจักรเนเธอร์แลนด์ สหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี สาธารณรัฐฝรั่งเศส และเครือรัฐออสเตรเลีย
  • เดือนตุลาคม พ.ศ. ๒๕๒๕ ถึง พ.ศ. ๒๕๒๖ทรงเข้ารับการฝึกหลักสูตรการฝึกบินเปลี่ยนเป็นเครื่องบินขับไล่ แบบ เอฟ - ๕ ( พิเศษ ) รุ่นที่ ๘๓ ( พุทธศักราช ๒๕๒๖ ) เอ ที ดับบลิว และหลักสูตรเครื่องบินขับไล่ชั้นสูง รุ่นที่ ๘๓ ( พุทธศักราช ๒๕๒๖ ) เอ วี ดับบลิว ณ ฐานทัพอากาศวิลเลียมส์ มลรัฐอริโซนา สหรัฐอเมริกา รวนชั่วโมงบิน ๒,๐๐๐ ชั่วโมง
  • พ.ศ. ๒๕๓๒ ทรงผ่านการฝึกบินด้วยเครื่องบินใบพัด แบบมาร์คเคตตี้ของฝูงขั้นปลาย โรงเรียนการบิน กองทักอากาศ และการฝึกบิน ด้วยเครื่องบินไอพ่น แบบ ที ๓๓ และหลักสูตรนักบินขับไล่ไอพ่นสมรรถนะสูงกับเครื่องบิน ขับไล่ แบบ เอฟ ๕ อี/เอฟ ของกองบิน ๑ ฝูงบิน ๑๐๒ โดยทรงทำชั่วโมงบิน ๒๐๐ ชั่วโมง ในเบื้องต้น และทรงทำชั่วโมงบินสูงสุด ๑,๐๐๐ ชั่วโมง และทรงเข้าร่วมการแข่งขันการใช้อาวุธทางอากาศประจำปี ซึ่งทรงทำคะแนนได้สูงตามกติกา กองทัพอากาศได้ทูลเกล้าทูลกระหม่อมถวายเครื่องหมายความสามารถในการใช้อาวุธทางอากาศชั้นที่ ๑ ประเภทอาวุธระเบิดสี่ดาว อาวุธจรวดสี่ดาว และอาวุธปืนสี่ดาว ในศกเดียวกัน [7]
  • เดือนพฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๔๗ ทรงเข้ารับการฝึกหลักสูตรการในฐานะนักบินโบอิ้ง ๗๓๗ - ๔๐๐ จากบริษัท การบินไทย จำกัด ( มหาชน ) และทรงผ่านการตรวจสอบจากการขนส่งทางอากาศ กับทรงได้รับใบอนุญาตนักบินพาณิชย์เอก
  • เดือนกรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๔๘ ทรงเข้ารับการฝึกหลักสูตรกัปตัน จากบริษัท การบินไทย จำกัด ( มหาชน ) และทรงรับการทูลเกล้าทูลกระหม่อม ถวายตำแหน่งนักบินที่ ๑ ในพุทธศักราช ๒๕๔๙ ทั้งนี้ ทรงปฏิบัติหน้าที่นักบินที่ ๑ อย่างดีเยี่ยมสม่ำเสมอ รวมชั่วโมงบิน ๓,๐๐๐ ชั่วโมง

เดือนพฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๕๒ กรมการขนส่งทางอากาศได้ทูลเกล้าทูลกระหม่อมถวายใบรับรองในตำแหน่งครูฝึกภาคอากาศกับตำแหน่ง ครูฝึกเครื่องช่วยฝึกบิน สำหรับเครื่องบินโบอิ้ง ๗๓๗ - ๔๐๐ [8]

[แก้] พระราชภาระหน้าที่

[แก้] ทางราชการ

สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ ในฉลองพระองค์เต็มยศรักษาพระองค์ ของกรมทหารราบที่ 1 มหาดเล็กรักษาพระองค์

[แก้] ด้านการบิน

  • 4 พฤษภาคม พ.ศ. 2537 ทรงปฏิบัติหน้าที่ครูการบินเครื่องบินขับไล่แบบเอฟ-5 อี/เอฟ[3]
  • พ.ศ. 2552ทรงปฏิบัติหน้าที่นักบินที่ ๑ เครื่องบินโบอิ้ง ๗๓๗ - ๔๐๐ ในเที่ยวบินสายใยรักแห่งครอบครัว ช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัย และจัดหาอุปกรณ์ด้านการแพทย์ สำหรับโรงพยาบาลใน ๓ จังหวัดชายแดนภาคใต้ ( เที่ยวบินที่ ทีจี ๘๘๗๐ ( กรุงเทพมหานครถึงจังหวัดเชียงใหม่ ) และเที่ยวบินที่ ทีจี ๘๘๗๑ ( จังหวัดเชียงใหม่ถึงกรุงเทพมหานคร ) )

[แก้] พระราชกรณียกิจ

สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิราลงกรณ สยามมกุฎราชกุมาร ได้ทรงปฏิบัติพระราชกรณียกิจมากมายนานัปการณ์ เพื่อประโยชน์ของพสกนิกรชาวไทยทั้งประเทศ จนสำเร็จบรรลุผลด้วยดี ดังต่อไปนี้ [10]

[แก้] ด้านการทหาร

สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิราลงกรณ สยามมกุฎราชกุมาร ทรงสนพระราชหฤทัยด้านการทหารมาตั้งแต่ทรงพระเยาว์ โดยได้เสด็จฯไปเยี่ยมที่ตั้งกองทหารหน่วยต่างๆอยู่เสมอ จากการที่ได้ทรงศึกษาด้านวิชาทหารมานาน จึงทรงมีความรู้เชี่ยวชาญอย่างมาก และได้พระราชทานความรู้เหล่านั้นให้แก่ทหาร ๓ เหล่าทัพ

ทรงปฏิบัติพระองค์เป็นแบบอย่างแก่นายทหาร ทรงสนพระทัย เอาพระทัยใส่ในความเป็นอยู่ทุกข์สุขของทหารผู้อยู่ใต้บังคับบัญชาอย่างทั่วถึง รวมทั้งพระราชทานพระราชทรัพย์ส่วนพระองค์ เป็นทุนการศึกษาแก่บุตรของทหาร สิ่งเหล่านี้ล้วนก่อให้เกิดความเทิดทูนและความจงรักภักดีแก่เหล่าทหารเป็นอย่างยิ่ง

[แก้] ด้านการศึกษา

สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิราลงกรณ สยามมกุฎราชกุมาร ทรงเล็งเห็นความสำคัญของการศึกษาทุกระดับ โดยเฉพาะการศึกษาของบุตรหลานข้าราชบริพารซึ่งอยู่ในวัยก่อนประถมศึกษาเป็นจำนวนมาก จึงพระราชทานพระพระราชานุญาตให้ใช้อาคารของกรมทหารมหาดเล็กราชวัลลภรักษาพระองค์ เป็นที่ตั้งของโรงเรียนอนุบาลและพระราชทานชิ่อว่า โรงเรียนอนุบาลทหารมหาดเล็กราชวัลลภรักษาพระองค์ จัดการเรียนการสอนเฉพาะชั้นอนุบาล และในปีการศึกษา พ.ศ. ๒๕๓๕ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯให้ย้ายโรงเรียนนี้ไปยังสถานที่ใหม่ตรงข้ามกับพระตำหนักนนทบุรี ได้เปิดทำการสอนทั้งในระดับอนุบาลและระดับประถมศึกษา

นอกจากนี้ยังทรงมีพระราชประสงค์ที่จะกระจายการศึกษาอย่างทั่วถึงสู่ท้องถิ่นทุรกันดารเพื่อให้เยาวชนในท้องถิ่นนั้นๆ ได้มีโอกาสได้รับการศึกษา จึงพระราชทานพระราชทรัพย์ส่วนพระองค์ สมทบเป็นค่าก่อสร้างโรงเรียนมัธยมศึกษาที่ตั้งอยู่ในชนบทห่างไกลลคมนาคมไม่สะดวก ซึ่งกระกระทรวงศึกษาธิการได้สนองพระราชประสงค์ด้วยการน้อมเกล้าฯ ถวายโรงเรียนในระดับมัธยมศึกษาจำนวน ๖ โรงเรียน เป็นโรงเรียนในพระราชูปถัมภ์ ได้แก่ โรงเรียนมัธยมพัชรกิติยาภา อ.ปลาปาก จ.นครพนม( ปัจจุบันเปลี่ยนชื่อเป็น โรงเรียนมัธยมพัชรกิติยาภา ๑ ) โรงเรียนมัธยมจุฑาวัชร อ.ลานกระลือ จ.กำแพงเพชร( ปัจจุบันเปลี่ยนชื่อเป็น โรงเรียนมัธยมพัชรกิติยาภา ๒ ) โรงเรียนมัธยมวัชเรศร อ.เมือง จ.สุราษฎร์ธานี( ปัจจุบันเปลี่ยนชื่อเป็น โรงเรียนมัธยมพัชรกิติยาภา ๓ ) โรงเรียนมัธยมจักรีวัชร อ.รัตนภูมิ จ.สงขลา( ปัจจุบันเปลี่ยนชื่อเป็น โรงเรียนมัธยมสิริวัณวรี ๒ ) โรงเรียนมัธยมวัชรวีร์ อ.ท่าตะเกียบ จ.ฉะเชิงเทรา( ปัจจุบันเปลี่ยนชื่อเป็น โรงเรียนมัธยมสิริวัณวรี ๓ ) และ โรงเรียนบุษย์นำเพชร อ.เมือง จ.อุดรธานี( ปัจจุบันเปลี่ยนชื่อเป็น โรงเรียนมัธยมสิริวัณวรี ๑ )

[แก้] ด้านการแพทย์และสาธารณสุข

สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิราลงกรณ สยามมกุฎราชกุมาร ทรงมีพระราชหฤทัยที่ทรงมุ่งมั่นในการพัฒนาคุณภาพชีวิตของราษฎร เนื่องจากการรักษาความสมบูรณ์แข็งแรงของร่างกาย เป็นปัจจัยที่สำคัญของเศรษฐกิจที่ดีและความมั่นคงของสังคมเพราะผู้ที่มีสุขภาพอนามัยที่ดีสามารถที่จะประกอบอาชีพได้อย่างเต็มกำลังความสามารถ แต่ราษฎรที่อาศัยอยู่ในชนบทที่ห่างไกลจากความเจริญก้าวหน้าส่วนใหญ่ มีฐานะความเป็นอยู่ที่ยากจนเมื่อเจ็บไข้ได้ป่วย ไม่มีแพทย์ที่จะทำให้การดูแลรักา จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สร้างโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชขึ้น เพื่อให้การรักษาพยาบาลผู้เจ็บป่วยในถิ่นทุรกันดาร ทำให้ราษฎรเหล่านี้มีสุขภาพอนามัยที่ดีขึ้น การเจ็บไข้ได้ป่วยลดน้อยลง


[แก้] ด้านศาสนา

ทรงตั้งสมณศักดิ์.gif
ทรงฉายขณะทรงผนวช ณ วัดบวรนิเวศวิหาร

สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิราลงกรณ สยามมกุฎราชกุมาร ได้ทรงแสดงพระองค์เป็นพุทธมามกะที่วัดพระศรีรัตนศาสดาราม เมื่อวันที่ 3 มกราคม พ.ศ. 2509 ก่อนเสด็จพระราชดำเนินไปทรงศึกษาต่อที่ประเทศอังกฤษ

นอกจากนี้ สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิราลงกรณ สยามมกุฎราชกุมาร ทรงมีพระราชศรัทธาออกบวชในพระพุทธศาสนา โดยพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ได้ทรงพระกรุณาโปรดฯ ให้จัดการพระราชพิธีทรงผนวชสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ ณ พัทธสีมาวัดพระศรีรัตนศาสดาราม ในวันที่ 6 พฤศจิกายน พ.ศ. 2521 โดยมีสมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ (วาสนมหาเถร) เป็นพระราชอุปัธยาจารย์ ได้รับถวายพระสมณนามว่า "วชิราลงฺกรโณ" และได้ประทับอยู่ ณ วัดบวรนิเวศวิหาร ตลอดจนทรงลาสิกขาในวันที่ 20 พฤศจิกายน พ.ศ. 2521 [3]

สำหรับพระราชภารกิจทางด้านพระพุทธศาสนานั้น สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิราลงกรณ สยามมกุฎราชกุมาร ได้เสด็จพระราชดำเนินแทนพระองค์ไปปฏิบัติพระราชกิจทางพระพุทธศาสนาอย่างสม่ำเสมอ เช่น ทรงเสด็จพระราชดำเนินแทนพระองค์ไปทรงเปลี่ยนเครื่องทรงพระพุทธมหามณีรัตนปฏิมากรวัดพระศรีรัตนศาสดาราม ตามฤดูกาล เสด็จพระราชดำเนินแทนพระองค์ไปทรงบำเพ็ญพระราชกุศลในวันสำคัญทางพระพุทธศาสนา เช่นวันวิสาขบูชา วันอาสาฬหบูชา วันเข้าพรรษา และการถวายผ้าพระกฐินหลวงตามวัดต่าง ๆ เป็นต้น

[แก้] ด้านการเกษตร

ประเทศไทยเป็นประเทศเกษตรกรรม ประชากรส่วนใหญ่ของประเทศประกอบอาชีพทางการเกษตร แต่ประชากรมีฐานะความเป็นอยู่ที่ยากจนเนื่องจากมีรายได้น้อย และเป็นรายได้ที่ไม่แน่นอน เพราะผลผลิตส่วนใหญ่ขึ้นอยู่กับธรรมชาติ ราษฎรขาดความรู้ในวิชาการเกษตรแผนใหม่ซึ่งพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงห่วงใยและได้ทรงทุ่มเทในการช่วยเหลือ ทั้งในด่านแหล่งน้ำ ดิน ตลอดจนพันธุ์พืช โดยได้ทรงส่งเสริมการทำนาอย่างแท้จริง เพื่อให้ข้าวเป็นพืชพันธุ์ที่อยู่เคียงคู่กับคำว่าไทยตลอดมาและชาวนาที่ปลูกข้าวมีฐานะความเป็นอยู่ที่ดี

สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิราลงกรณ สยามมกุฎราชกุมาร ได้ทรงดำเนินตามรอยพระยุคลบาท พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ในการช่วยเหลือเกษตรกรและส่งเสริมการเพาะปลูก ด้วยการเสด็จฯไปทรงทำปุ๋ยหมักจากผักตบชวาและวัชพืชอื่นๆ เป็นปฐมฤกษ์ เพื่อพระราชทานแก่เกษตรกร สำหรับนำไปใช้ในการเพาะปลูกเป็นการเพิ่มผลผลิต ที่บ้านแหลมสะแก ต.เดิมบาง อ.เดิมบางนางบวช จ.สุพรรณบุรี เมื่อวันที่ ๒๓ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๒๘

[แก้] ด้านเยาวชน

สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิราลงกรณ สยามมกุฎราชกุมาร ทรงตระหนักดีว่า การที่ประเทศชาติจะมีความเจริญก้าวหน้าได้นั้นขึ้นอยู่กับเยาวชนปัจจุบัน จึงทรงเอาพระราชหฤทัยใส่ต่อเยาวชน ด้วยการเสด็จฯไปทรงเยี่ยมเยาวชนในตำบลต่างๆ ทรงสนับสนุนการจัดตั้งศูนย์เยาวชนตำบล รวมทั้งได้ทรงเป็นประธานงานวันเยาวชนแห่งชาติ วันที่ ๒๐ กันยายน ของทุกปี และ ทรงเป็นประธานในพิธีปฏิญาณตนและสวนสนามของลูกเสือและเนตนารี และสมาชิกผู้ทำประโยชน์ ทั้งนี้เพื่อที่จะให้เยาวชนเป็นพลเมืองที่ดีของชาติบ้านเมือง

[แก้] พระเกียรติยศ

[แก้] เครื่องราชอิสริยาภรณ์

[11]

[แก้] เครื่องราชอิสริยาภรณ์ไทย

[แก้] เครื่องราชอิสริยาภรณ์ต่างประเทศ

[แก้] พระยศทหาร

[12]

[แก้] อภิเษกสมรส

พระราชวงศ์ไทย
Emblem of the House of Chakri.svg
(จากซ้าย) ม.จ.วัชรเรศร, ม.จ.วัชรวีร์, สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ, ม.จ.บุษย์น้ำเพชร, หม่อมสุจาริณี, ม.จ.จักรีวัชร, ม.จ.จุฑาวัชร

สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร ทรงเข้าพิธีอภิเษกสมรสกับ

[แก้] พระราชโอรส-ธิดา

สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร ทรงมีพระราชธิดา ที่ประสูติแต่ พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าโสมสวลี พระวรราชาทินัดดามาตุ 1 พระองค์ คือ

ทรงมีพระราชโอรสพระราชธิดาอีก 1 พระองค์ กับ 4 องค์ ที่ประสูติแต่ คุณสุจาริณี วิวัชรวงศ์

และทรงมีพระราชโอรสที่ประสูติแต่ พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าศรีรัศมิ์ พระวรชายาฯ 1 พระองค์ คือ


[แก้] ราชตระกูล

พระราชตระกูลในสามรุ่นของสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร

สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร
พระชนก:
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช
พระอัยกาฝ่ายพระชนก:
สมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนก
พระปัยกาฝ่ายพระชนก:
พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
พระปัยยิกาฝ่ายพระชนก:
สมเด็จพระศรีสวรินทิราบรมราชเทวี พระพันวัสสาอัยยิกาเจ้า
พระอัยยิกาฝ่ายพระชนก:
สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี
พระปัยกาฝ่ายพระชนก:
พระชนกชู
พระปัยยิกาฝ่ายพระชนก:
พระชนนีคำ
พระชนนี:
สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ
พระอัยกาฝ่ายพระชนนี:
พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้านักขัตรมงคล กรมหมื่นจันทบุรีสุรนาถ
พระปัยกาฝ่ายพระชนนี:
พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้ากิติยากรวรลักษณ์ กรมพระจันทบุรีนฤนาถ
พระปัยยิกาฝ่ายพระชนนี:
หม่อมเจ้าอัปสรสมาน เทวกุล
พระอัยยิกาฝ่ายพระชนนี:
หม่อมหลวงบัว กิติยากร
พระปัยกาฝ่ายพระชนนี:
เจ้าพระยาวงษานุประพัทธ
พระปัยยิกาฝ่ายพระชนนี:
ท้าววนิดาพิจาริณี


[แก้] อ้างอิง

  1. ^ . ประมวลพระบรมฉายาลักษณ์และพระราชประวัติ.
  2. ^ ลาวัณย์ โซตามระ. สี่เจ้าฟ้า. กรุงเทพมหานคร: บริษัท กัตนา ดิสทริบิวชั่น จำกัด
  3. ^ 3.0 3.1 3.2 3.3 พระราชประวัติสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิราลงกรณ สยามมกุฎราชกุมาร. พระไตรปิฎกฉบับสำหรับประชาชน ตอนว่าด้วยพระสูตร. กรุงเทพมหานคร: กรมการศาสนา กระทรวงวัฒนธรรม
  4. ^ ราชกิจจานุเบกษา, พระบรมราชโองการ ประกาศ สถาปนาสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช สยามมกุฏราชกุมาร, เล่ม ๘๙, ตอน ๒๐๐ ก ฉบับพิเศษ, ๒๘ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๑๕, หน้า ๑
  5. ^ สกุลไทย : 16 มกราคม 2533
  6. ^ ราชอาณาจักรสยาม ,ราชการทหารของสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้าชายมหาวชิราลงกรณ สยามมกุฎราชกุมาร,http://www.kingdom-siam.org
  7. ^ สกุลไทย : 7 สิงหาคม 2533
  8. ^ ราชอาณาจักรสยาม ,การศึกษาของสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้าชายมหาวชิราลงกรณ สยามมกุฎราชกุมาร,http://www.kingdom-siam.org
  9. ^ ราชอาณาจักรสยาม ,พระราชภาระหน้าที่ของสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้าชายมหาวชิราลงกรณ สยามมกุฎราชกุมาร,http://www.kingdom-siam.org
  10. ^ ๕๐ พรรษา เจ้าฟ้าวชิราลงกรณ ,[๕๐ พรรษา เจ้าฟ้าวชิราลงกรณ พระราชกรณียกิจของสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้าชายมหาวชิราลงกรณ สยามมกุฎราชกุมาร],๕๐ พรรษา เจ้าฟ้าวชิราลงกรณ
  11. ^ ราชอาณาจักรสยาม ,เครื่องราชอิสริยาภรณ์ของสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้าชายมหาวชิราลงกรณ สยามมกุฎราชกุมาร,http://www.kingdom-siam.org
  12. ^ ราชอาณาจักรสยาม ,พระยศทหารของสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้าชายมหาวชิราลงกรณ สยามมกุฎราชกุมาร,http://www.kingdom-siam.org
  13. ^ http://pumbaa.coe.psu.ac.th/webboard/reply.php?forum_id=17&topic_id=21420
  14. ^ เจฟฟรี่ ไฟน์สโตน. จุฬาลงกรณราชสันตติวงศ์ พระบรมราชวงศ์แห่งประเทศไทย. พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพฯ: พิษณุโลกการพิมพ์,2532. หน้า 275 - 276

[แก้] ดูเพิ่ม

สมัยก่อนหน้า สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิราลงกรณ สยามมกุฎราชกุมาร สมัยถัดไป
สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิราวุธ สยามมกุฎราชกุมาร 2leftarrow.png สยามมกุฎราชกุมาร
(พ.ศ. 2515-ปัจจุบัน)
2rightarrow.png '