ประวัติศาสตร์สหรัฐอเมริกา

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

ประวัติศาสตร์สหรัฐอเมริกา สหรัฐอเมริกาเป็นประเทศในอเมริกาเหนือ ติดกับแคนาดาทางเหนือ และเม็กซิโกทางใต้ เดิมมีชาวอินเดียนพื้นเมืองอาศัยอยู่นานแล้ว จนคริสโตเฟอร์ โคลัมบัส ค้นพบทวีปอเมริกาในค.ศ. 1492 ทำให้ชาวยุโรปเริ่มจะแสวงหาผลประโยชน์จากดินแดนใหม่ เพื่อหาสินค้าที่มีค่ากลับไปขายในยุโรป จนนำไปสู่การตั้งรกรากของชาวยุโรป สหรัฐอเมริกานั้นพัฒนามากจากอาณานิคมสิบสามรัฐของบริเตน ซึ่งประกาศตนเป็นเอกราชในค.ศ. 1776 และแผ่ขยายดินแดนไปทางตะวันตกเรื่อยๆ โดยการซื้อดินแดนจากชาวพื้นเมืองและฝรั่งเศส รวมทั้งทำสงครามกับเม็กซิโก จนมีอาณาเขตจรดมหาสมุทรแปซิฟิคในค.ศ. 1848

เนื้อหา

[แก้] สมัยก่อนโคลัมบัส

นักวิทยาศาตร์ตั้งสมมุติฐานว่ามนุษย์มาถึงทวีปอเมริกาครั้งแรกเมื่อ 40,000 ถึง 14,000 ปีก่อนในยุคน้ำแข็ง เพราะระดับน้ำทะเลลดลงทำให้ช่องแคบแบริ่งตื้นเขิน ทำให้ชาวเอเชียอพยพเข้ามากลายเป็นชาวอินเดียนพื้นเมืองต่างๆทั้งทวีปอเมริกาในปัจจุบัน

ผิดกลับอเมริกากลาง ในอเมริกาเหนือชาวพื้นเมืองไม่ได้สร้างอารยธรรมที่ยิ่งใหญ่ดังเช่นอัซเทคหรืออินคา แต่เป็นชนเผ่าเร่ร่อนล่าสัตว์ (Hunter-gatherers) หรือบางพวกก็ตั้งถิ่นฐานทำเกษตรกรรม อารยธรรมเกษตรกรรมในอเมริกาเหนือที่พัฒนามากที่สุดคือวัฒนธรรมมิสซิสซิปปี (Mississipian Culture) ในประมาณค.ศ. 1000 ถึง ค.ศ. 1400 มักจะสร้างมูลดินขึ้นมาเพื่ออยู่อาศัยและพิธีกรรมศาสนา จึงเรียกว่า พวกสร้างมูลดิน (Mound-builders) ชุมชนที่ใหญ่ที่สุดของวัฒนธรรมมิสซิสซิปปี คือคาโฮเกีย (Cahokia) ในมลรัฐอิลลินอยส์

[แก้] อาณานิคมของยุโรป

แม้โคลัมบัสจะพบทวีปอเมริกาในค.ศ. 1492 แต่ก็วนเวียนอยู่ในหมู่เกาะแคริบเบียนเท่านั้น ในค.ศ. 1513 ควน ปองเซ เด เลออง (Juan Ponce de Léon) นักสำรวจชาวสเปนมาฟลอริดาเพื่อค้นหาน้ำพุแห่งความเยาว์วัย (Fountain of Youth) สเปนเป็นชาติแรกที่ตั้งอาณานิคมในอเมริกา แต่แค่ผิวชายฝั่ง ไม่เข้าไปลึกมาก ในค.ศ. 1540 เดอ โคโรนาโด (Francisco Vásquez de Coronado) ชาวสเปนสำรวจทะเลทรายทางตะวันออกเฉียงใต้ของสหรัฐฯ พบแกรนด์แคนยอน

ส่วนอังกฤษนั้นตั้งอาณานิคมแรกคือเจมส์ทาวน์ (Jamestown) ในค.ศ. 1607 ตั้งชื่อตามพระนามพระเจ้าเจมส์ที่ 1 โดยบริษัทลอนดอนเวอร์จิเนีย (London Virginia Company) ซึ่งจะพัฒนากลายเป็นมลรัฐเวอร์จิเนีย ในปีแรกๆฤดูหนาวนั้นหนาวเหน็บผู้คนล้มตายเพราะขาดอาหาร แต่ด้วยความช่วยเหลือของชาวพื้นเมือง ทำให้อาณานิคมยังอยู่รอด และได้ยาสูบ (tobacco) เป็นพืชเศรษฐกิจชนิดใหม่ ปลูกเป็นไร่ขนาดใหญ่ (Plantation) มีการนำทาสผิวดำจากแอฟริกามาใช้

ในอังกฤษเกิดสงครามกลางเมืองอังกฤษและการกดขี่ศาสนา ทำให้พวกนิกายต่างๆหลบหนีมาอเมริกาเพื่อตั้งรกราก พวกพิลกริม (Pilgrim) นั่งเรือเมย์ฟลาวเวอร์ (Mayflower) มาตั้งอาณานิคมพลิมัธ ประกาศ Mayflower Compact เพื่อปกครองตนเอง พวกกลุ่มเพียวริตัน ได้รับการกดขี่ในอังกฤษหนีมาตั้งอาณานิคมอ่าวแมสซาชูเซตต์ (Massachusette Bay) เพื่อสร้างดินแดนในอุดมคติของนิกายพิวริตัน ในค.ศ. 1675 ชาวอาณานิคมทำสงครามอย่างชาวพื้นเมืองอย่างดุเดือดในสงครามพระเจ้าฟิลิป (King Philip's War) ทำให้ชาวพื้นเมืองและชาวอาณานิคมล้มตายมากมาย อาณานิคมพลีมัธและแมสซาชูเซตรวมกันในค.ศ. 1691 รวมเรียกว่า อังกฤษใหม่ (New England)

ชาติอื่นก็มาตั้งอาณานิคมเช่นกัน ในค.ศ. 1638 สวีเดนตั้งอาณานิคมเดลาแวร์ แต่ถูกฮอลันดายึด ฮอลันดาตั้งอาณานิคมเนเธอร์แลนด์ใหม่ (New Netherlands) ประกอบด้วยนิวอัมสเตอร์ดาม (New Amsterdam กลายเป็นนิวยอร์ก) นิวเจอร์ซีย์ เดลาแวร์ และเพนซิลเวเนีย การแข่งขันระหว่างอังกฤษและฮอลันดาทำให้เกิดสงครามอังกฤษ-ฮอลันดา ในค.ศ. 1652 ถึง ค.ศ. 1674 อังกฤษยึดนิวอัมสเตอร์ดามได้ในค.ศ. 1664 และสนธิสัญญาบรีดาในค.ศ. 1667 ยกนิวเนเธอร์แลนด์ให้อังกฤษ

พระเจ้าชาร์ลส์ที่ 2 แห่งอังกฤษ ทรงพระราชทานรางวัลแก่ผู้ที่ช่วยพระองค์ขึ้นกลับครองบัลลังก์ โดยทรงแต่งตั้งให้เป็นเจ้าครองที่ดินในค.ศ. 1663 (Lord Proprietor) เพื่อไปตั้งอาณานิคมส่วนตัวในอเมริกาทางใต้ของเวอร์จิเนีย กลายเป็นแคโรไลนา (Carolina) ซึ่งเป็นสถานที่ปลูกพืชเขตร้อนมีค่า เช่น อ้อย และใช้ทาสผิวดำจำนวนมากเป็นแรงงาน แต่การกดขี่พวกอูเกอโนต์ในฝรั่งเศสและอาณานิคม ทำให้พวกอูเกอโนต์หลบหนีมาอยู่อาณานิคมอังกฤษ ทำให้สองชาติเกิดความขัดแย้งแย่งที่ทำมาหากิน

สงครามใหญ่สี่ครั้ง สงครามในยุโรปลุกลามมาถึงอาณานิคมด้วย ในค.ศ. 1689 สงครามมหาสัมพันธมิตร (War of the Grand Alliance) เมื่อชาติต่างๆรวมทั้งอังกฤษรวมตัวกันต่อต้านฝรั่งเศส กลายเป็นสงครามพระเจ้าวิลเลียม (King William's War) ในอาณานิคม อังกฤษยึดพอร์ต รอยัล (Port Royal) ในอคาเดีย (Acadia) ของฝรั่งเศส และบุกคิวเบก เมืองหลวงของอาณานิคมฝรั่งเศส แต่ไม่สำเร็จและถูกยึดพอร์ตรอยัลคืน จนสงครามในยุโรปสิ้นสุดในค.ศ. 1697

ในค.ศ. 1702 สงครามสืบราชสมบัติสเปน (War of the Spanish Succession) กลายเป็นสงครามพระนางแอนน์ (Queen Anne's War) ในอาณานิคม ด้วยความช่วยเหลือของเผ่าอิโรคอยส์ ทำให้บริเตนได้อคาเดีย ซึ่งเปลี่ยนชื่อเป็นสกอตแลนด์ใหม่ หรือโนวา สโกเทีย (Nova Scotia) และอ่าวฮัดสัน (Hudson Bay) อันเป็นแหล่งขนบีเวอร์สำคัญ

ในค.ศ. 1739 บริเตนทำสงครามกับสเปนในสงครามหูของเจงกินส์ (War of Jenkin's Ear) ในค.ศ. 1740 สงครามสืบราชสมบัติออสเตรีย (War of the Austrian Succession) กลายเป็นสงครามพระเจ้าจอร์จ (King George's War) ในอาณานิคมเมื่อฝรั่งเศสเข้าพวกสเปน อังกฤษยึดหลุยส์บอร์ก (Louisbourg) จากฝรั่งเศส แต่ฝรั่งเศสบุกทำลายนิวยอร์ก จนค.ศ. 1748 สงครามสิ้นสุด กลับสู่สภาพเดิม แต่ไม่นานนัก สงครามฝรั่งเศสและอินเดียน (French and Indian Wars) คู่กับสงครามเจ็ดปี (Seven Years' War) ในยุโรป ในตอนแรกบริเตนพ่ายแพ้ยับเบิน แต่มองต์คาล์ม (Montcalm) นำทัพอาณานิคมชนะฝรั่งเศสและชาวพื้นเมืองได้ ในค.ศ. 1759 บริเตนขนะฝรั่งเศสในการรบที่ราบอับฮราฮัม (Plains of Abraham) ยึดเมืองคิวเบกได้ ในค.ศ. 1763 สนธิสัญญาปารีส ยกแคนาดาทั้งหมดให้บริเตน อาณานิคมบริเตนจึงขยายกว้างใหญ่ไพศาล

[แก้] การปฏิวัติอเมริกา

แผนที่ช่วงก่อนปฏิวัติอเมริกา โดยสีชมพูแสดงมลรัฐแรกทั้ง 13 รัฐ

ดูบทความหลักที่ การปฏิวัติอเมริกา

โคลัมบัส เดินเรือจากยุโรปไปทางทิศตะวันตกเพื่อหาเส้นทางเดินเรือใหม่ เขาไปเจอกับทวีปๆนึง เขาคิดว่าทวีปนั้นคืออินเดีย จนกระทั่งต่อมา ประเทศสเปนกับประเทศโปรตุเกสได้เดินทางลงใต้ ทำให้พบทวีปอเมริกาใต้ ซึ่งพบทองคำเป็นจำนวนมาก ทำให้สหราชอาณาจักรและประเทศฝรั่งเศสซึ่งเดินทางไปที่หลัง จำใจต้องขึ้นไปทางทิศเหนือ อังกฤษได้ขึ้นฝั่งที่บริเวณตะวันออก แถบนิวอิงแลนด์ นิวยอร์ก ฝรั่งเศสขึ้นฝั่งที่ตอนกลาง บริเวณลุ่มแม่น้ำมิสซิสซิปปี ทั้งสองได้ต่างกันขยายอาณานิคม ทำให้ทั้งสองได้มาประทะกันในที่สุด ทำให้เกิด สงคราม 7 ปี ในทวีปยุโรป ฝรั่งเศสเป็นฝ่ายแพ้อังกฤษ ทำให้อังกฤษเข้ายึดดินแดนเดิมของฝรั่งเศส

[แก้] สหรัฐอเมริกาช่วงแรก (ค.ศ. 1789 ถึง ค.ศ. 1849)

[แก้] แผ่ขยายไปทางตะวันออก (ค.ศ. 1849 ถึง ค.ศ. 1861)

[แก้] สงครามกลางเมือง (ค.ศ. 1861 ถึง ค.ศ. 1865)

{{เป็นสงครามที่เกิดจากความขัดแย้ง ระหว่างรัฐเกษตรกรรมทางใต้ของสหรัฐอเมริกา ที่มีการทำไร่ขนาดใหญ่ใช้แรงงานทาสนิโกร กับรัฐอุตสาหกรรมทางเหนือระหว่าง ค.ศ. 1861 - 1865 (พ.ศ. 2404 - 2408) สงครามนี้ทำให้มีผู้เสียชีวิตถึง 600,000 คน ทำให้เกิดความเสียหายและความยุ่งยากหลายประการ แต่ก็มีผลดีที่ต่อมามีการเลิกทาส และรักษาความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันไว้ได้

สงครามเริ่มต้นจาก เมื่อ อับราฮัมได้เป็นประธานาธิบดีโดยเขาสัญญาก่อนเลือกตั้งว่า ถ้าเขาได้รับเลือกเป็นประธานาธิบดี เขาจะประกาศเลิกทาสทั่วประเทศ (สมัยนั้นสหรัฐอเมริกามีเนื้อที่เฉพาะฝั่งขวาของแม่น้ำมิสซิสซิปปีทั้งหมดเท่านั้น) ซึ่งนโยบายนี้ได้รับการตอบรับเป็นอย่างดีจากประชาชนที่อยู่ในรัฐทางเหนือ แต่ในรัฐทางใต้กลับไม่พอใจเป็นอย่างมาก ฉะนั้นคะแนนเสียงของอับราฮัม จึงไม่มีในรัฐภาคใต้เลย เมื่อเขาได้เป็นประธานาธิบดี รัฐทั้ง 11 รัฐทางใต้ก็ประกาศแยกตัวเป็นอิสระทันที ประกาศเป็นศัตรูกับรัฐบาลสหรัฐฯ ส่วนรัฐทางใต้ก็รวมตัวกันอย่างหลวมๆ ประกาศจัดตั้งประเทศ สมาพันธรัฐอเมริกา สงครามจึงเริ่มขึ้น

เหตุการณ์สำคัญตามลำดับคือ ค.ศ. 1860 อับราฮัม ลินคอล์นได้รับการเลือกตั้งเป็นประธานาธิบดี ค.ศ. 1860 เซาท์ แคโรไลนาแยกตัวออกเพราะไม่พอใจผลการเลือกตั้งประธานาธิบดี ค.ศ. 1860 การทำข้อตกลงคิสเตนเดน (Crittenden Compromise) ล้มเหลวเท่ากับเป็นการสิ้นสุด ความพยายามครั้งสุดท้ายที่จะยังคงรวมกันเป็นสหภาพ (Union) ค.ศ. 1861 ฝ่ายสมาพันธรัฐ (Confederates) ยิงเรือของฝ่ายสหภาพ พยายามปลดปล่อยฟอร์ท ซัมเตอร์ (Fort Sumter) ที่เมืองชาร์ลสตัน (เซาท์ แคโรไลนา) ทำให้เรือของฝ่ายสหรัฐต้องถอย ค.ศ. 1861 มิสซิสซิปปี แยกตัว (9 มกราคม) ตามมาด้วยฟลอริดา (10มกราคม) อลาบามา (11 มกราคม) จอร์เจีย (19มกราคม) หลุยส์เซียนา (26มกราคม) และเท็กซัส (1กุมภาพันธ์) ค.ศ. 1861 สภาคองเกรสเรียกประชุมผู้แทน (4 ก.พ.) บรรดารัฐที่แยกตัวออกที่เมืองมองโกเมอรี รัฐอลาบามาจัดตั้งรัฐบาลชั่วคราวฝ่ายสมาพันธรัฐอเมริกา และเลือกตั้งนายพล เจ.เดวิส (J.Davis) เป็นประธานาธิบดี ค.ศ. 1861 ประธานาธิบดีเดวิส ประกาศเกณฑ์ทหารอาสาสมัคร 20,000 คนเข้าประจำการ (3 เมษายน) ค.ศ. 1861 กองทัพฝ่ายสมาพันธ์นำโดยนายพลโบรีการ์ด (Beauregard) ระดมยิงฟอร์ท ซัมเตอร์จน ต้องยอมแพ้ เป็นการเปิดฉากสงครามกลางเมือง ที่มีความรุนแรงยิ่งขี้น (12 - 14 เมษายน) ค.ศ. 1861 ประธานาธิบดีลินคอล์น ประกาศเกณฑ์ทหารอาสาสมัคร 75,000 คน (15 เมษายน) ดำเนินการปิดล้อมท่าเรือของฝ่ายรัฐที่แยกตัวออก (19 เมษา) แต่ไม่สามารถสกัดการส่งสินค้า จากต่างประเทศที่เข้ามาถึงรัฐที่ถูกปิดล้อมได้ทั้งหมด ค.ศ. 1861 เวอร์จิเนียถอนตัวออกจากสหพันธรัฐ (17 เมษา) ตามด้วยอาร์คันซอส์ (6 พฤษภา) นอร์ท แคโรไลนา (20 พฤษภา) และเทนเนสซี (8 มิถุนา) ค.ศ. 1861 กองทัพฝ่ายสมาพันธรัฐเผชิญหน้าฝ่ายสหพันธรัฐ เริ่มการสู้รบที่บุล รัน (bull Run) (21 กรกฎา) ทางตอนเหนือของรัฐเวอร์จิเนีย การสู้รบที่บุลรันทำให้ฝ่ายเหนือคิดเรื่องที่จะยุติสงครามกลางเมืองโดยเร็ว ด้วยการปิดล้อมฝ่ายใต้ทางเรือ คุมย่านแม่น้ำมิสซิสซิปปี (เพื่อเป็นการแยกฝ่ายใต้ออกจากกัน) และเข้ายึดเมืองริชมอนด์ เมืองหลวงของสมาพันธรัฐฝ่ายใต้ ค.ศ. 1861 ฝ่ายสมาพันธรัฐก็ยึดเมืองสปริงฟิลด์ (Springfield) ในมิสซูรีภายหลังการรบที่วิลสัน ครีก (Wilson's Creek) (10สิงหาคม) ค.ศ. 1861 พลเอก จี. แมคเคลลัน (General G.McCelan) เป็นผู้บัญชาการกองทัพสหพันธรัฐ และจัดตั้งกองทัพแห่งโปโตแมค (Army of Potomac) ขึ้น ค.ศ. 1861 กองทัพสหพันธรัฐปิดล้อมเรืออังกฤษ (8 พฤศจิกายน) จนเกือบนำไปสู่การเกิดสงรามระหว่างประเทศ ค.ศ. 1862 ฝ่ายสหพันธรัฐบุกเคนตักกี้กับเทนเนสซี ยึดได้ฟอร์ท เฮนรี (Fort Henry) กับฟอร์ท โดเนลสัน (Fort Donelson) (6 - 16 กุมภาพันธ์) ฝ่ายสมาพันธ์ถอนตัวจากเมืองแนชวิลล์ (Nashville) ค.ศ. 1862 เป็นปีรุกของฝ่ายสหพันธรัฐ นายพลแกรนท์ของฝ่ายเหนือรุกไล่ฝ่ายใต้ทางตอนใต้รัฐเทนเนสซี มีชัยในการรบนองเลือดที่ชิโลห์ (Shiloh) (6-7เมษา) ฝ่ายใต้สูญเสียแม่ทัพสำคัญ คนหนึ่งคือนายพล เอ จอห์นสตัน (Gen. A. Johnston) ค.ศ. 1863 ลินคอล์นประกาศกฎหมายปลดปล่อยวันที่ 1 มกราคม (Emancipation Proclaimation) (1 มกราคม) ค.ศ. 1863 กองทัพฝ่ายเหนือรุกไปทางตะวันออก นายพลลี (Gen. R.E. Lee) ของฝ่ายใต้รุกขึ้นทาง เหนือเข้าสู่เพนซิลวาเนีย (มิถุนายน) แต่ถูกนายพลจี มีด (Gen.G.Meade) ของฝ่ายสหพันธรัฐ เอาชนะได้ในการรบที่เกตติสเบิร์ก (Battle of Gettysburg) ในเพนซิลวาเนีย ถือ เป็นสงครามแห่งชัยชนะในสงครามกลางเมือง เมื่อนายพลลีต้องถอยกลับไปเวอร์จิเนีย ค.ศ. 1864 นายพลแกรนท์ได้รับการแต่งตั้งเป็นผู้บัญชาการสูงสุดของกองทัพสหภาพ (มีนาคม) ขณะที่นายพล ดับเบิลยู เชอร์แมน (Gen. W. Sherman) เป็นแม่ทัพฝ่ายตะวันตก กองทัพ ของนายพลแกรนท์ ปะทะกับกองทัพนายพลลีในเวอร์จีเนีย ส่วนกองทัพของนายพลเชอร์ แมนมีหน้าที่รุกรบกองทัพของนายพลจอห์นสตันที่แอตแลนตา ค.ศ. 1864 นายพลลีของฝ่ายใต้เริ่มถอย เพราะไม่สามารถป้องกันปีเตอร์สเบิร์ก (Petersburg) ในการสู้รบเป็นเวลาถึง 10 เดือน แม้จะพยายามโจมตีแนวหลังของฝ่ายสหพันธรัฐก็ไม่สำเร็จ ค.ศ. 1864 นายพลดี ฟาร์รากัตเอาชนะกองเรือฝ่ายสมาพันธรัฐที่อ่าวโมบายล์ (5 สิงหาคม) ค.ศ. 1864 ประธานาธิบดีลินคอล์นได้รับการเลือกตั้งเป็นสมัยที่สอง (พฤศจิกายน) ค.ศ. 1865 มีการร่างข้อตกลง 13 ข้อ ยกเลิกการมีทาสในสหรัฐอเมริกา ผ่านรัฐสภาอเมริกัน (1 กุมภาพันธ์) และมีผลบังคับใช้เดือนธันวาคม ค.ศ. 1865 นายพลลี ถูกบังคับให้ยอมจำนนที่แอพโพแมตทอก คอร์ทเฮาส์ (Appomattox Courthouse) เป็นการยุติสงครามกลางเมือง ค.ศ. 1865 (14 เมษายน) ประธานาธิบดีลินคอล์นถูกลอบสังหาร }}

[แก้] ปฏิวัติอุตสาหกรรมและแผ่ขยายอาณานิคม (ค.ศ. 1865 ถึง ค.ศ. 1918)

[แก้] เศรษฐกิจตกต่ำและสงครามโลกครั้งที่ 2 (ค.ศ. 1918 ถึง ค.ศ. 1945)

[แก้] สงครามเย็น (ค.ศ. 1945 ถึง ค.ศ. 1991)

หลังจากสงครามโลกครั้งที่ 2 สหรัฐอเมริกากับรัสเซียก็แข่งขันด้านเทคโนโลยีและวิทยาศาสตร์ในตอนแรกรัสเซียปล่อยดาวเทียมดวงแรกของโลกชื่อ สุปนิตก เมื่ออเมริกาได้ข่าวก็ได้ส่งปล่อยดาวเทียมดวงที่ 2 ของโลกชื่อ เอกซ์ปลอเลอร์ ในตอนกลางสงครามเย็นรัสเซียส่งนักบินอวกาศคนแรกของโลกชื่อ ยูริ กาการิน ออกไป ในตอนปลายสหรัฐอเมริกาได้ส่งอะพอโล่ 11 พร้อมกับนักบินอวกาศ 3 คน 1 ในนั้นคือ นีล อาร์มสตรอง ขึ้นไปสู่ดวงจันทร์ อีกประมาณ 1 ปีก็เกิดเหตุอะพอโล่ 13 เกิดอุบัติเหตุถังออกซิเจนรั่วแต่ก็สามารถกลับโลกได้อย่างปลอดภัย

[แก้] ดูเพิ่ม