สมเด็จพระเทพศิรินทราบรมราชินี

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

สมเด็จพระเทพศิรินทราบรมราชินี หรือพระนามเดิม หม่อมเจ้ารำเพย ศิริวงศ์ (๑๗ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๓๗๗ - ๙ กันยายน พ.ศ. ๒๔๐๔) [note 1] พระอัครมเหสีพระองค์ที่สองในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระบรมราชชนนีในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว

เนื้อหา

[แก้] พระราชประวัติ

หม่อมเจ้ารำเพย ศิริวงศ์ ประสูติเมื่อวันพฤหัสบดีที่ ๑๗ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๓๗๗ ทรงเป็นพระธิดาพระองค์รองในสมเด็จพระบรมราชมาตามหัยกาเธอ พระองค์เจ้าศิริวงศ์ กรมหมื่นมาตยาพิทักษ์ พระราชโอรสในพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ต้นราชสกุลศิริวงศ์ กับหม่อมน้อย [1][2][note 2] ทรงมีพระพี่ยา พระน้องยา และพระน้องนางเธอ ต่างพระมารดา รวม ๘ พระองค์ คือ[3][4][5]

หม่อมเจ้ารำเพย ศิริวงศ์ ทรงเริ่มรับราชการในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ตำแหน่งพระมเหสี เมื่อ พ.ศ. ๒๓๙๖ ตั้งแต่พระชนมายุได้ ๑๘ พรรษา ทรงได้รับสถาปนา เลื่อนพระยศเป็นพระองค์เจ้า พระราชทานพระนามว่า พระองค์เจ้ารำเพยภมราภิรมย์ พระนามว่า พระนางเธอ พระองค์เจ้ารำเพยภมราภิรมย์ เมื่อ พ.ศ. ๒๔๙๕ [1] ต่อมาได้รับการเฉลิมพระนามเป็น สมเด็จพระนางเจ้ารำเพยภมราภิรมย์ พระองค์เสด็จสวรรคตเมื่อวันจันทร์ที่ ๙ กันยายน พ.ศ. ๒๔๐๔ สิริรวมพระชนมายุได้ ๒๘ พรรษา ในรัชกาลที่ ๕ ทรงสถาปนาพระบรมอัฐิเป็น กรมสมเด็จพระเทพศิรินทรามาตย์ [1] และในรัชกาลที่ ๖ ทรงสถาปนาพระบรมอัฐิเป็น สมเด็จพระเทพศิรินทราบรมราชินี [1]

[แก้] พระราชโอรสและพระราชธิดา

สมเด็จพระเทพศิรินทราบรมราชินี ทรงมีพระราชโอรส-ธิดาทั้งหมด ๔ พระองค์ คือ

[แก้] การประชวรและการสวรรคต

นับตั้งแต่พระราชโอรสองค์เล็กประสูติ พระองค์ก็ทรงประชวรมากแต่ก็ทรงตรัสว่า "ไม่เป็นอะไรมากหรอก" แม้จะทรงไอมากก็ตาม พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงมีพระราชหัตถเลขาเกี่ยวกับพระอาการประชวรของพระองค์ไว้ดังนี้

“…แต่แม่รำเพย ตั้งแต่คลอดบุตรชายภาณุรังษีสว่างวงศ์มาแล้ว ป่วยให้ไอและซูบผอมมากไป กลัวจะตั้งวรรณโรคภายใน”

อีกฉบับหนึ่ง ทรงบรรยายถึงการสิ้นพระชนม์ไว้อย่างละเอียดดังนี้

“…เวลาเช้าแม่รำเพยไออาเจียนเป็นโลหิตออกมามาก ออกทางจมูกออกทางปาก ได้ตัวสัตว์ออกมากับทั้งโลหิตตัวหนึ่ง มีอาการคล้ายสัตว์ตัวหนอนเล็กหางเป็นสามแฉก แต่หมอยังแก้ไขก็ค่อยคลายมา โลหิตออกบ้างเล็กน้อยจางไปแล้ว"

“ครั้น ณ วันอาทิตย์ขึ้น 4 ค่ำ เดือนสิบ เวลากลางคืน เธอว่าค่อยสบายไอห่างไป นอนหลับได้มาก ตั้งแต่สามยามไปจนถึงสามโมงเช้า ครั้น ณ วันจันทร์ ขึ้นห้าค่ำ เดือนสิบ ตื่นขึ้นอีกเวลาสามโมงเช้า รับประทานอาหารได้ถ้วยฝาขนาดใหญ่ แล้วนั่งเล่นอยู่กับบุตรเล็ก ไอเป็นโลหิตออกมา แล้วก็เป็นโลหิตพลุ่งพล่านมากเป็นที่สุด ออกทั้งทางจมูกทางปาก หลายถ้วยแก้วกระบอก ไม่มีขณะหายใจ พอโลหิตมากแล้วชีพจรทั้งตัวก็หยุดทีเดียวไม่ฟื้นเลย ได้รับประทานจัดการไว้ศพ ในโกศตั้งไว้ที่ตึกต้นสน แต่ตกแต่งตึกเสียใหม่ให้งามดี เพดานและบานประตู บานหน้าต่างปิดลายเงิน ฝาผนังปิดกระดาษลาย และตกแต่งสิ่งอื่นมากพอสมควร ครั้นจะยกขึ้นไปไว้บนพระมหาปราสาท เห็นว่าจะกีดขวางการพระราชพิธีไม่พอที่ แต่เท่านั้นก็ดีอยู่แล้ว ศพจะเอาไว้นาน ต่อเดือนสี่เดือนห้าจึงจะได้เผา เดี๋ยวนี้ก็รับประทานทำบุญต่างๆ มีเทศนาและบังสกุลอยู่เนืองๆ…ที่ให้เป็นอนุเคราะห์แก่ชายจุฬาลงกรณ์ หญิงจันทรมณฑล ชายจุตุรนตรัศมี ชายภาณุรักษีสว่างวงศ์ บุตรแม่เพยทั้งสี่ก็มีบ้าง กระหม่อมฉันคิดขอบบุญขอบคุณท่านทั้งปวงครั้งนี้นั้นหนักหนา แม่เพยตายลงครั้งนี้ เมื่อดูอาการก็ควรจะตายอยู่แล้ว ด้วยป่วยโรคนี้มาตั้งแต่เสาะแสะมาถึงห้าปี ตั้งแต่ปีมะเส็งมารักษาก็หลายหมอหลายยาแล้ว ไม่หาย จึงเห็นว่าถึงคราวที่จะสิ้นอายุตายอยู่แล้ว"

“อายุนับปี เท่ากับกรมหมื่นมาตยาพิทักษ์บิดานั้น เหมือนกับชายมงคลเลิศซึ่งเป็นพี่ชายว่าโดยละเอียดไป กรมหมื่นมาตยาพิทักษ์ มีอายุนับวันตั้งแต่วันเกิดจนวันตายได้ 9,639 วัน ชายมงคลเลิศนับอายุตั้งแต่วันเกิดจนวันตาย 9,903 วัน มากกว่ากรมหมื่นมาตยาพิทักษ์ 284 วัน มากกว่าชายมงคลเลิศ 20 วัน”

หลังจากการเสด็จสวรรคต ได้มีการจัดงานพระราชพิธีพระราชทานพระเพลิงพระบรมศพ ณ พระเมรุ มณฑลพิธีท้องสนามหลวง ในวันศุกร์ที่ 18 เมษายน พุทธศักราช 2405 (วันแรม 4 ค่ำ เดือน 5)[6] โดยพระราชพิธีนี้ ได้มีการริเริ่มการจัดพิธีกงเต็กหลวงขึ้นครั้งแรก จึงมีการจัดพิธีกงเต็กหลวงสืบมา[7]

[แก้] ราชตระกูล

พระราชตระกูลในสมเด็จพระเทพศิรินทราบรมราชินี

 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก
 
 
 
 
 
 
 
พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
สมเด็จพระอมรินทราบรมราชินี
 
 
 
 
 
 
 
พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
พระยานนทบุรีศรีมหาอุทยาน (บุญจัน)
 
 
 
 
 
 
 
สมเด็จพระศรีสุราลัย
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
คุณเพ็ง
 
 
 
 
 
 
 
สมเด็จพระบรมราชมาตามหัยกาเธอ พระองค์เจ้าศิริวงศ์
กรมหมื่นมาตยาพิทักษ์
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
พระอักษรสมบัติ (ทับ)
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
เจ้าจอมมารดาทรัพย์
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
พระยาพัทลุง (ทองขาว)
 
 
 
 
 
 
 
ท่านผ่อง
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
ท่านปล้อง
 
 
 
 
 
 
 
สมเด็จพระเทพศิรินทราบรมราชินี
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
หม่อมน้อย ศิริวงศ์ ณ อยุธยา (นามเดิม แจ่ม)
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
พระยารัตนจักร (หงส์ทอง)
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
คุณม่วง
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 

[แก้] เชิงอรรถ

  1. ^ ทรงพระนามว่า รำเพย เนื่องจากได้ทรงถวายงานอยู่พัดแก่พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว สมเด็จพระอัยกาธิราช ตั้งแต่ยังทรงพระเยาว์, พิมาน แจ่มจรัส, โอเดียนการพิมพ์, 2510
  2. ^ พระชนนีน้อย มีนามเดิมว่า "แจ่ม" เป็นธิดาคนหนึ่งของคุณม่วง ธิดาของพระยารัตนจักร (หงส์ทอง) (สมิงสอดเบา หัวเมืองหน้าครัวมอญ) คุณม่วงเป็นน้องสาวต่างมารดาของเจ้าจอมมารดาป้อม ในรัชกาลที่ 1, เจ้าจอมเพ็ง ในรัชกาลที่ 2 และเจ้าจอมมารดาเอม ในรัชกาลที่ 2 [1]

[แก้] อ้างอิง

  1. ^ 1.0 1.1 1.2 1.3 สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์. มหามกุฎราชสันตติวงศ์ พระนามพระราชโอรสธิดา พระราชนัดดา. กรุงเทพ : อมรินทร์พริ้นติ้ง, พ.ศ. 2547. ISBN 974-272-911-5
  2. ^ ธำรงศักดิ์ อายุวัฒนะ. ราชสกุลจักรีวงศ์ และราชสกุลสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช. กรุงเทพ : สำนักพิมพ์บรรณกิจ, พิมพ์ครั้งที่ 3 พ.ศ. 2544. 490 หน้า. ISBN 974-222-648-2
  3. ^ จุลลดา ภักดีภูมินทร์, 'พระสัมพันธวงศ์เธอ', สกุลไทย, ฉบับที่ 2421, ปีที่ 47, ประจำวันอังคารที่ 13 มีนาคม 2544
  4. ^ จุลลดา ภักดีภูมินทร์, สถาปนาคำนำพระนาม, สกุลไทย, ฉบับที่ 2448, ปีที่ 47, ประจำวันอังคารที่ 18 กันยายน 2544
  5. ^ จุลลดา ภักดีภูมินทร์, เล่าเรื่องมอญ, สกุลไทย, ฉบับที่ 2486, ปีที่ 48, ประจำวันอังคารที่ 11 มิถุนายน 2545
  6. ^ ราชอาณาจักรสยาม
  7. ^ ตะเกียงคู่. สายหยุดพุดจีบจีน. กรุงเทพฯ:เยลโล่การพิมพ์, 2534. หน้า 41-47
Crystal Clear app Login Manager.png สมเด็จพระเทพศิรินทราบรมราชินี เป็นบทความเกี่ยวกับ ชีวประวัติ ที่ยังไม่สมบูรณ์ ต้องการตรวจสอบ เพิ่มเนื้อหาหรือเพิ่มแหล่งอ้างอิง คุณสามารถช่วยเพิ่มเติมหรือแก้ไข เพื่อให้สมบูรณ์มากขึ้น
ข้อมูลเกี่ยวกับ สมเด็จพระเทพศิรินทราบรมราชินี ในภาษาอื่น อาจสามารถหาอ่านได้จากเมนู ภาษาอื่น ด้านซ้ายมือ
ภาษาอื่น