มหาวิทยาลัยมหาสารคาม

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
Mahasarakham
ตราโรจนากร
“ พหูนํ ปณฺฑิโต ชีเว
(ผู้มีปัญญา พึงเป็นอยู่เพื่อมหาชน) ”

มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ตั้งอยู่ในจังหวัดมหาสารคาม เดิมเป็นวิทยาเขตของมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ นับเป็นมหาวิทยาลัยแห่งที่ 22 ของประเทศไทย[1]

เนื้อหา

[แก้] ประวัติ

มหาวิทยาลัยมหาสารคาม มีศูนย์กลางการบริหารงานตั้งอยู่ที่ ตำบลขามเรียง อำเภอกันทรวิชัย จังหวัดมหาสารคาม มีพื้นที่ประมาณ 1,300 ไร่ ที่ตั้งเดิม ซึ่งตั้งอยู่ที่ 269 ถนนนครสวรรค์ ตำบลตลาด อำเภอเมือง จังหวัดมหาสารคาม บนพื้นที่ 197 ไร่ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม มีกำเนิดมาจากวิทยาลัยวิชาการศึกษามหาสารคาม ซึ่งตั้งขึ้นเมื่อ วันที่ 27 มีนาคม พ.ศ. 2511 โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อที่จะขยายการศึกษาชั้นสูงไปสู่ภูมิภาค ต่อมาได้รับการยกฐานะขึ้นเป็นมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ มหาสารคาม เมื่อปีพุทธศักราช 2517 และได้แยกตัวเป็นมหาวิทยาลัยเอกเทศภายใต้ชื่อ "มหาวิทยาลัยมหาสารคาม" เมื่อวันที่ 9 ธันวาคม พ.ศ. 2537 โดยพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงลงพระปรมาภิไธยในพระราชบัญญัติ ของมหาวิทยาลัย ซึ่งได้มีการประกาศในราชกิจจานุเบกษาเล่มที่ 111 ตอนที่ 54 ก นับเป็นมหาวิทยาลัยของรัฐแห่งที่ 22 ของ ประเทศไทย

[แก้] สัญลักษณะประจำมหาวิทยาลัยมหาสารคาม

  • ตราประจำมหาวิทยาลัยมหาสารคาม คือ ตราโรจนากร ซึ่งมีความหมายว่า ดวงตาแห่งความเจริญรุ่งเรือง ซึ่งมีองค์ประกอบเป็นรูปใบเสมา

ภายในมีภาพสัญลักษณ์ขององค์พระธาตุนาดูน ด้านล่างเป็นสุริยรังสีที่แผ่ขึ้นจากผ้าลายขิดซึ่งอยู่เหนือคำขวัญภาษาบาลี

พหูนํ ปณฺฑิโต ชีเว"' หมายความว่า ผู้มีปัญญาพึงเป็นอยู่เพื่อมหาชน

ใบเสมา หมายถึง ภูมิปัญญา

องค์พระธาตุนาดูน หมายถึง คุณธรรมความดี

สุริยรังสี หมายถึง ความเจริญรุ่งเรือง

ลายขิด หมายถึง ภูมิปัญญาและมรดกทางวัฒนธรรมแห่งอีสาน

ความหมายโดยรวม คือ ความเจริญรุ่งเรืองอันเป็นผลจากความรู้และคุณธรรม ผสมผสานกับภูมิปัญญาแห่งท้องถิ่นอีสาน

  • สีประจำมหาวิทยาลัย คือ สีเหลือง - เทา

สีเหลือง หมายถึง ความเจริญรุ่งเรือง ความดีงาม ความอุดมสมบูรณ์

สีเทา หมายถึง ความคิด หรือ ปัญญา

สีเหลือง - เทา จึงหมายถึง การมีปัญญาและความคิดที่ดีงาม อันนำไปสู่ความเจริญรุ่งเรือง

  • วาทกรรมอัตลักษณ์ประชาคม มมส คือ ลูกพระธาตุนาดูน ดอกคูนผลิช่อ มอน้ำชี ศรีโรจนากร

[แก้] ทำเนียบอธิการบดี

วิทยาลัยวิชาการศึกษา มหาสารคาม
รายนามรองอธิการประจำวิทยาเขต วาระการดำรงตำแหน่ง
1. ดร.สายหยุด จำปาทอง พ.ศ. 2511 - พ.ศ. 2512
2. รองศาสตราจารย์ ดร. บุญชม ไชยโกษี พ.ศ. 2512 - พ.ศ. 2516
3. รองศาสตราจารย์ ดร.ทรงศักดิ์ ศรีกาฬสินธุ์ พ.ศ. 2516 - พ.ศ. 2517
มหาวิทยาลันศรีนครินทรวิโรฒ วิทยาเขตมหาสารคาม
รายนามรองอธิการประจำวิทยาเขต วาระการดำรงตำแหน่ง
1. รองศาสตราจารย์ ดร.ทรงศักดิ์ ศรีกาฬสินธุ์ พ.ศ. 2517 - พ.ศ. 2518
2. รองศาสตราจารย์ ชูเกียรติ มณีธร พ.ศ. 2518 (รักษาการ)
3. ศาสตราจารย์ ดร.ประเสริฐ วิทยารัฐ พ.ศ. 2519
4. รองศาสตราจารย์ ดร. ชาตรี เมืองนาโพธิ์ พ.ศ. 2519 - พ.ศ. 2524
5. รองศาสตราจารย์ ดร. วีระ บุญยะกาญจน พ.ศ. 2524 - พ.ศ. 2526
6. ดร. ถวิล ลดาวัลย์ พ.ศ. 2526 - พ.ศ. 2530
7. รองศาสตราจารย์ ดร. วีระ บุญยะกาญจน พ.ศ. 2530 - พ.ศ. 2534
8. รองศาสตราจารย์ ดร. จรูญ คูณมี พ.ศ. 2534 - พ.ศ. 2536
9. รองศาสตราจารย์ ดร.บุญชม ศรีสะอาด พ.ศ. 2537
มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
รายนามอธิการบดี วาระการดำรงตำแหน่ง
1. รองศาสตราจารย์ ดร.บุญชม ศรีสะอาด พ.ศ. 2538 (รักษาการ)
2. ศาสตราจารย์ (พิเศษ) ภก.ดร.ภาวิช ทองโรจน์ พ.ศ. 2538 - พ.ศ. 2546
3. ศาสตราจารย์น นพ.อดุลย์ วิริยเวชกุล พ.ศ. 2546 - พ.ศ. 2550
4. ศาสตราจารย์เกียรติคุณทันตแพทย์ สมศักดิ์ จักรไพวงศ์ พ.ศ. 2550 - พ.ศ. 2551 (รักษาการ)
5. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ศุภชัย สมัปปิโต พ.ศ. 2551 - พ.ศ. 2552 (รักษาการ)
พ.ศ. 2552 - ปัจจุบัน

[แก้] คณะ/วิทยาลัย/หน่วยงานที่จัดการเรียนการสอน

ด้านมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์

วิทยาศาสตร์เทคโนโลยี

ด้านวิทยาศาสตร์สุขภาพ

[แก้] สำนัก/สถาบัน

[แก้] โรงเรียน

[แก้] วิทยาเขต/ศูนย์/ฝ่าย/สมาคม

[แก้] กิจการเสริมศึกษา

[แก้] งานเทา-งามสัมพันธ์

กิจกรรมเทา-งามสัมพันธ์ เกิดขึ้นหลังจากมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒวิทยาเขตต่างๆ ได้รับการยกฐานะเป็นมหาวิทยาลัยใหม่ ซึ่งประกอบด้วย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ มหาวิทยาลัยบูรพา มหาวิทยาลัยมหาสารคาม มหาวิทยาลัยทักษิณ และมหาวิทยาลัยนเรศวร แม้ว่าวิทยาเขตต่างๆ จะได้รับการยกฐานะเป็นมหาวิทยาลัยเอกเทศ แต่ด้วยความตระหนักถึงความผูกพันทั้ง 5 มหาวิทยาลัย จึงมีปณิธานที่จะร่วมมือกันในภารกิจอันควรแก่มหาวิทยาลัย ดังนั้นจึงได้ร่วมมือกันจัดงานเทา-งามสัมพันธ์ ขึ้น โดยใช้สี “เทา” ซึ่งเป็นสีประจำโดยรวมของทุกวิทยาเขตเป็นพื้นฐาน และเพิ่มคำว่า “งาม” ซึ่งเป็นคำที่มีความหมายและมีคุณค่ายิ่ง มีความหมายรวมเป็น “เทา-งามสัมพันธ์” ในปี 2538 มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ วิทยาเขตสงขลา หรือมหาวิทยาลัยทักษิณ เป็น เจ้าภาพโดยมีรูปแบบกิจกรรมที่เน้นด้านกีฬาและด้านศิลปวัฒนธรรมเป็นหลัก

ต่อมาในปี พ.ศ. 2539 ทั้ง 5 มหาวิทยาลัย โดยอธิการบดีร่วมเล็งเห็นความสำคัญต่อภารกิจของมหาวิทยาลัยและประเทศชาติ จึงได้ร่วมลงนามข้อตกลงความร่วมมือมหาวิทยาลัยในเครือเทา-งามสัมพันธ์ เป็นต้นมา ซึ่งมีข้อตกลงชัดเจนใน 4 ด้านคือด้านการวิจัย ด้านการบริหารวิชาการแก่สังคม ด้านการสร้างความสามัคคีระหว่างมหาวิทยาลัยในเครือเทา-งาม ตลอดจนถึงการทะนุบำรุงศิลปวัฒนธรรมและการกีฬา และด้านการพัฒนาองค์กรบริหาร การจัดการและวิชาการ

วัตถุประสงค์

  • เพื่อให้ผู้เข้าร่วมงานเทา-งามสัมพันธ์ ได้ร่วมกันในภารกิจในด้านต่าง ๆ ตามข้อตกลงความร่วมมือของมหาวิทยาลัยในเครือเทา-งาม
  • เพื่อให้ผู้เข้าร่วมงานเทา-งามสัมพันธ์ ได้มีโอกาสแลกเปลี่ยนความรู้ทางด้านงานวิชาการและวิจัย
  • เพื่อให้ผู้เข้าร่วมงานเทา-งามสัมพันธ์ ได้มีโอกาสสร้างความสัมพันธ์อันดีต่อกัน และทำกิจกรรมร่วมกันทั้งกิจกรรมด้านวิชาการและด้านกิจการนิสิต
  • เพื่อให้ผู้เข้าร่วมงานเทา-งามสัมพันธ์ โดยเฉพาะนิสิตได้มีโอกาสทำประโยชน์เพื่อส่วนรวมในการ ออกค่ายนิสิตเทา-งามสัมพันธ์

งานประเพณีลอยกระทงมหาวิทยาลัยมหาสารคาม

           เป็นกิจกรรมทางประเพณีของไทยที่ทางมหาวิทยาลัยมหาสารคาม  

ได้มอบอำนาจให้กับองค์การนิสิต เป็นผู้ดำเนินการจัดงาน โดยเขียนโครงการขึ้นเพื่อเสนอต่อมหาวิทยาลัยมหาสารคาม

 ปี 2548 เป็นปีแรกที่เปลี่ยนชื่อการจัดประกวดนางนพมาศมาเป็น การประกวดนารีศรีโรจนากร (โดยกลุ่มนิสิตพรรคพลังสังคม เป็นองค์การนิสิต) 
ปี 2549 ใช้ชื่อการประกวดว่า นางนพมาศอีสาน (โดยกลุ่มนิสิตพรรคช่อราชพฤกษ์ เป็นองค์การนิสิต)
ปี 2550 ใช้ชื่อว่าการประกวดนารีศรีโรจนากร (โดยกลุ่มนิสิตพรรคพลังสังคม เป็นองค์การนิสิต)
 ปี 2551 ใช้ชื่อการประกวดว่า ธิดาสร้อยดอกหมาก(โดยกลุ่มนิสิตพรรคชาวดิน เป็นองค์การนิสิต)  
ปี 2552 ใช้ชื่อว่าการประกวดนารีศรีโรจนากร 
         เพราะฉะนั้นในปีวาระต่อไปที่พรรคใดขึ้นมาดำรงตำแหน่งองค์การนิสิต 

ก็จะมีชื่อเอกลักษณ์การประกวด ซึ่งเป็นศักยภาพทางความคิดของนิสิต มมส ในการพัฒนาให้มหาวิทยาลัยมหาสารคามมีจุดเด่นทางวัฒนธรรม

[แก้] อ้างอิง

[แก้] แหล่งข้อมูลอื่น

ภาษาอื่น