อักษรธรรมล้านนา

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

(เปลี่ยนทางมาจาก อักษรล้านนา)
ป้ายอักษรธรรมล้านนาในจังหวัดเชียงใหม่ ข้อความในป้ายดังกล่าวปริวรรตเป็นอักษรไทยได้ว่า "วัดหม้อฅำทวง" (อ่านว่า /วัด-หม้อ-คำ-ตวง/)

อักษรธรรมล้านนา หรือ ตัวเมือง (คำเมือง: ᨲ᩠ᩅᩫᨾᩮᩬᩥᨦ ตั๋วเมือง) พัฒนามาจากอักษรมอญ เช่นเดียวกับอักษรตัวธรรมของล้านช้างและอักษรพม่า อักษรล้านนาใช้ในอาณาจักรล้านนาเมื่อราว พ.ศ. 1802 จนกระทั่งถูกพม่ายึดครองใน พ.ศ. 2101 ปัจจุบันใช้ในงานทางศาสนา และพบได้ในวัดทางภาคเหนือของประเทศไทย

เนื้อหา

[แก้] พยัญชนะ

อักษรธรรมล้านนาจัดตามกลุ่มพยัญชนะวรรคตามพยัญชนะภาษาบาลี แบ่งออกเป็น 5 วรรค วรรคละ 5 ตัว เรียกว่า“พยัญชนะวรรค”หรือ“พยัญชนะในวรรค”อีก 8 ตัวไม่จัดอยู่ในวรรคเรียกว่า“พยัญชนะอวรรค”หรือ“พยัญชนะนอกวรรค”หรือ“พยัญชนะเศษวรรค”ส่วนการอ่านออกเสียงเรียกพยัญชนะทั้งหมดนั้น จะเรียกว่า“ตั๋ว”เช่น ตั๋ว กะ/ก/ ตั๋ว ขะ/ข/ ตั๋ว จะ/จ/ เป็นต้น

[แก้] พยัญชนะปกติ

อักษรไทยที่ปรากฏเป็นการถ่ายอักษรเท่านั้น เสียงจริงของอักษรแสดงไว้ในสัทอักษรสากล ซึ่งอาจจะออกเสียงต่างไปจากอักษรไทย

ตัวเมือง อักษรไทย สัทอักษร
Lanna-1.png /ka/
Lanna-2.png /kʰa/
Lanna-3.png /kʰa/
Lanna-4.png /ka/
Lanna-5.png /kʰa/
Lanna-6.png /kʰa/
Lanna-7.png /ŋa/
Lanna-8.png /tɕa/
Lanna-9.png /sa/
ตัวเมือง อักษรไทย สัทอักษร
Lanna-10.png /tɕa/
Lanna-11.png /sa/
Lanna-12.png /sa/
Lanna-13.png /ɲa/
Lanna-14.png /ta/
Lanna-15.png /tʰa/
Lanna-17.png ฑ, ด /da/
Lanna-15-5.png /tʰa/
Lanna-16.png /na/
ตัวเมือง อักษรไทย สัทอักษร
Lanna-18.png /ta/
Lanna-19.png /tʰa/
Lanna-20.png /ta/
Lanna-21.png /tʰa/
Lanna-22.png /na/
Lanna-23.png /ba/
Lanna-24.png /pa/
Lanna-25.png /pʰa/
Lanna-26.png /fa/
ตัวเมือง อักษรไทย สัทอักษร
Lanna-27.png /pa/
Lanna-28.png /fa/
Lanna-29.png /pʰa/
Lanna-30.png /ma/
Lanna-31.png ย ต่ำ /ɲa/
Lanna-44.png ย กลาง /ja/
Lanna-32.png /ha/
Lanna-42.png /lɯ/
Lanna-33.png /la/
ตัวเมือง อักษรไทย สัทอักษร
Lanna-43.png /lɯ/
Lanna-34.png /wa/
Lanna-35.png /sa/
Lanna-36.png /sa/
Lanna-37.png /sa/
Lanna-38.png /ha/
Lanna-39.png /la/
Lanna-40.png /ʔa/
Lanna-41.png /ha/

[แก้] พยัญชนะซ้อน

พยัญชนะซ้อนเป็นพยัญชนะที่ใส่ไว้ใต้พยัญชนะตัวอื่น อักษรธรรมที่ปรากฏคืออักษรธรรมแบบไทลื้อ Taitham-subconsonants.gif


[แก้] พยัญชนะพิเศษ

Lanna special.jpg

[แก้] สระ

[แก้] สระจม

เป็นสระที่ไม่สามารถออกเสียงได้ด้วยตัวเอง ต้องนำไปผสมกับพยัญชนะก่อนจึงจะสามารถออกเสียงได้ Lannachart2.jpg

[แก้] สระลอย

Lannachart3.jpg

เป็นสระที่มาจากภาษาบาลี สามารถออกเสียงได้ด้วยตัวเองไม่จำเป็นต้องนำไปผสมกับพยัญชนะก่อน แต่บางครั้งก็มีการนำไปผสมกับพยัญชนะหรือสระแท้ เช่น คำว่า "เอา" สามารถเขียนได้โดยเขียนสระจากภาษาบาลี 'อู' ตามด้วย สระแท้ 'า' คือ Lanna aau.jpg

[แก้] วรรณยุกต์

เนื่องจากล้านนาได้นำเอาระบบการเขียนของมอญมาใช้โดยแทบจะไม่มีการปรับเปลี่ยนเลยและภาษามอญเองก็เป็นภาษาที่ไม่มีวรรณยุกต์ ดังนั้นในอดีตจึงไม่ปรากฏว่ามีการใช้เครื่องหมายวรรณยุกต์ในภาษาล้านนาเลย (เคยมีการถกเถียงกันเรื่องชื่อของล้านนาว่าจริงๆแล้วชื่อ "ล้านนา" หรือ "ลานนา" กันแน่ แต่ในที่สุดก็ได้ข้อสรุปว่า "ล้านนา") จนกระทั่งในระยะหลังเมื่ออิทธิพลของสยามแผ่เข้าไปในล้านนาจึงปรากฏการใช้รูปวรรณยุกต์ในภาษาล้านนา

ภาษาล้านนาสามารถผันได้ 6 เสียง (จริงๆแล้วมีทั้งหมด 7 หรือ 8 เสียง แต่ในแต่ละท้องถิ่นจะใช้เพียง 6 เสียงเท่านั้น) การผันจะใช้การจับคู่กันระหว่างอักษรสูงกับอักษรต่ำจึงทำให้ต้องใช้วรรณยุกต์เพียง 2 รูปเท่านั้น คือ เอก กับ โท (เทียบภาษาไทยกลาง) เช่น
Lannachart4.jpg

การที่มีรูปวรรณยุกต์เพียง 2 รูปนี้ทำให้เกิดปัญหากับอักษรกลาง คือ ไม่สามารถแทนเสียงได้ครบทั้ง 6 เสียง ดังนั้นจึงอาจอนุโลมให้แต่ละรูปศัพท์แทนการออกเสียงได้ 2 เสียง

[แก้] อักษรธรรมล้านนาในคอมพิวเตอร์

ปัจจุบันอักษรธรรมล้านนาได้รับการบรรจุลงในยูนิโคดรุ่น 5.2 แล้ว แต่ยังไม่มีโปรแกรมรองรับ ดังนั้นการพิมพ์ด้วยอักษรธรรมล้านนาในตอนนี้จึงใช้วิธีแทนรูปร่างของตัวอักษรในฟอนต์ลงไปในช่วงของอักษรไทยแทน และหากคนที่ไม่มีฟอนต์ดังกล่าวก็จะยังเห็นเป็นอักษรไทยเช่นเดิม

อักษรไทธรรม (ชื่อตามมาตรฐานยูนิโคด)
Unicode.org chart (PDF)
  0 1 2 3 4 5 6 7 8 9 A B C D E F
U+1A2x
U+1A3x ᨿ
U+1A4x
U+1A5x  ᩕ  ᩖ  ᩗ  ᩘ  ᩙ  ᩚ  ᩛ  ᩜ  ᩝ  ᩞ  
U+1A6x  ᩠  ᩢ  ᩥ  ᩦ  ᩧ  ᩨ  ᩩ  ᩪ  ᩫ  ᩬ  ᩭ  ᩮ  ᩯ
U+1A7x  ᩰ  ᩱ  ᩲ  ᩳ  ᩴ  ᩵  ᩶  ᩷  ᩸  ᩹  ᩺  ᩻  ᩼      ᩿
U+1A8x            
U+1A9x            
U+1AAx    

[แก้] อ้างอิง

[แก้] แหล่งข้อมูลอื่น