รถไฟฟ้าเฉลิมพระเกียรติ 6 รอบพระชนมพรรษา

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

โครงข่ายระบบรถไฟฟ้า
ในกรุงเทพมหานครและพื้นที่ต่อเนื่อง
  สายเฉลิมพระเกียรติฯ 1 (สายสุขุมวิท)
  สายเฉลิมพระเกียรติฯ 2 (สายสีลม)
  สายเฉลิมรัชมงคล (สายสีน้ำเงิน)
  สายท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ (Airport link) (ทดสอบระบบ)
  สายสีม่วง (กำลังก่อสร้าง)
  สายสีแดงอ่อน (กำลังก่อสร้าง)
  สายสีชมพู (โครงการ)
  สายสีส้ม (โครงการ)
  สายสีแดงเข้ม (โครงการ)
  สายสีเหลือง (โครงการ)
  สายสีน้ำตาล (ยุบรวมกับสายสีส้ม)
  สายสีเทา (โครงการ)
  สายสีฟ้า (โครงการ)

รถไฟฟ้าเฉลิมพระเกียรติ 6 รอบพระชนมพรรษา หรือชื่อที่เรียกกันโดยทั่วไปว่า รถไฟฟ้า บีทีเอส (BTS Skytrain) เป็นระบบขนส่งมวลชนแบบรางของกรุงเทพมหานคร ดำเนินการโดย บริษัท ระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ จำกัด(มหาชน) เริ่มเปิดให้บริการครั้งแรกเมื่อวันที่ 5 ธันวาคม พ.ศ. 2542 เปิดบริการตั้งแต่ 6.00 - 24.00 น โดยอัตราค่าโดยสารสำหรับผู้โดยสารเที่ยวเดียว คิดในอัตรา 2 สถานี ต่อ 5 บาท โดยเริ่มต้นที่ 15 บาท สูงสุด 40 บาท บัตรโดยสารแบบเติมเงิน บัตรโดยสารแบบสามสิบวันสำหรับนักเรียน นักศึกษา และบัตรโดยสารแบบสามสิบวันสำหรับบุคคลทั่วไป สามารถซื้อได้ที่ห้องจำหน่ายบัตรโดยสาร การซื้อบัตรโดยสารแบบเที่ยวเดียวจากตู้ขายบัตรโดยสารแบบหยอดเหรียญ รับเฉพาะเหรียญ 5 บาท และ 10 บาทเท่านั้น ปัจจุบันมีการเพิ่มตู้ขายบัตรโดยสารแบบใช้ธนบัตรบนสถานีที่มีผู้ใช้บริการจำนวนมาก เช่น สถานีอโศก สถานีอนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ รถไฟฟ้าบีทีเอส เป็นระบบซึ่งดำเนินการแยกต่างหากจาก รถไฟฟ้ามหานคร

รถไฟฟ้าบีทีเอส เกิดขึ้นโดยการอนุมัติของกรุงเทพมหานคร ในสมัยพลตรีจำลอง ศรีเมืองเป็นผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร เนื่องจากในขณะนั้นในกรุงเทพมหานครไม่มีระบบขนส่งมวลชนด้วยรางแม้แต่ระบบเดียว มีการศึกษาโครงการก่อสร้างระบบรถไฟฟ้าหลายระบบ เช่น รถไฟฟ้าลาวาลิน แต่มีแนวโน้มที่จะไม่ได้รับการอนุมัติการก่อสร้างจากคณะรัฐมนตรี ในขณะที่การจราจรในกรุงเทพติดขัดอย่างหนัก เนื่องจากปริมาณรถยนต์เพิ่มขึ้น เป็นผลมาจากการเปิดเสรี ให้สามารถนำเข้ารถยนต์ใหม่จากต่างประเทศ ในรัฐบาลนายอานันท์ ปันยารชุน (ก่อนหน้านี้ การนำเข้ารถยนต์ใหม่จากต่างประเทศ ต้องเสียภาษีนำเข้า สูงถึงหลายเท่าของมูลค่ารถ)

กรุงเทพมหานคร อนุมัติสัมปทานการสร้างและจัดการเดินรถให้กับบริษัท ธนายง ของนายคีรี กาญจนพาสน์ ในครั้งแรกกำหนดให้สร้างอู่ซ่อมบำรุงบริเวณพื้นที่สวนลุมพินี แต่ประชาชนที่ใช้พื้นที่สวนลุมพินีเพื่อออกกำลังเป็นประจำได้รวมตัวประท้วงการเข้าใช้พื้นที่ ว่าขัดต่อพระราชประสงค์ของพระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัว ที่ทรงพระราชทานพระราชทรัพย์จัดสร้างเพื่อเป็นสวนสาธารณะของประชาชน นอกจากนั้นยังมีการประท้วงขอให้เปลี่ยนแปลงรูปแบบการสร้างรถไฟฟ้าจากรางลอยฟ้า เป็นรถใต้ดิน ในที่สุดจึงได้มีการย้ายสถานที่ก่อสร้างอู่ซ่อมบำรุง ไปใช้พื้นที่ของการรถไฟแห่งประเทศไทย ใกล้กับสวนจตุจักร

ในช่วงแรกก่อนเปิดทำการ รถไฟฟ้าสายนี้ใช้ชื่อว่า รถไฟฟ้าธนายง [1] ตามชื่อบริษัทที่ได้รับสัมปทาน

เมื่อวันที่ 5 ธันวาคม พ.ศ. 2551 ในโอกาสที่เปิดบริการมาครบ 9 ปี ปรากฏว่า มียอดมีผู้ใช้บริการตั้งแต่เปิดให้บริการ 972,034,298 เที่ยว มีผู้โดยสารใช้บริการรถไฟฟ้าเฉลี่ยวันทำการ 424,369 เที่ยวต่อวัน เพิ่มขึ้นจากปีก่อน 2.6% โดยในปี 2551 นี้มีผู้ใช้บริการสูงสุดเมื่อวันที่ 3 ตุลาคม 2551 จำนวน 497,390 เที่ยว [2]


เนื้อหา

[แก้] ขบวนรถโดยสาร

รถโดยสาร 1 ขบวน มี 3 ตู้ สามารถเคลื่อนที่ได้ทั้งสองทิศ ตัวรถใช้รถของบริษัท ซีเมนส์ จำกัด มีทั้งหมด 35 ขบวนและ สั่งชื้ออีก 12 ขบวนและเพิ่มตู้โดยสารจากเดิม 1 ขบวน 3 ตู้ เป็น 1 ขบวน มี 4 ตู้ เพื่อรองรับการต่อขยาย

[แก้] สายที่เปิดให้บริการ

รถไฟฟ้าบีทีเอสแบ่งเป็น 2 สาย คือ สายสุขุมวิท (สีเขียวอ่อน) และสายสีลม (สีเขียวเข้ม) โดยมีสถานีเชื่อมต่อทั้งสองสาย ที่สถานีสยาม

  • สายสุขุมวิท
ชื่อและสีของสถานี รหัสสถานี จุดเปลี่ยนเส้นทาง วันที่เปิดให้บริการ
รถไฟฟ้าบีทีเอส สายสุขุมวิท
หมอชิต N8 รถไฟฟ้ามหานคร สายเฉลิมรัชมงคล
สถานีสวนจตุจักร
5 ธันวาคม พ.ศ. 2542
สะพานควาย N7 5 ธันวาคม พ.ศ. 2542
อารีย์ N5 5 ธันวาคม พ.ศ. 2542
สนามเป้า N4 5 ธันวาคม พ.ศ. 2542
อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ N3 5 ธันวาคม พ.ศ. 2542
พญาไท N2 รถไฟฟ้าท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ
รถไฟฟ้าชานเมืองสายสีแดงอ่อน
สถานีพญาไท
5 ธันวาคม พ.ศ. 2542
ราชเทวี N1 5 ธันวาคม พ.ศ. 2542
สยาม CS รถไฟฟ้าบีทีเอส สายสีลม 5 ธันวาคม พ.ศ. 2542
ชิดลม E1 5 ธันวาคม พ.ศ. 2542
เพลินจิต E2 5 ธันวาคม พ.ศ. 2542
นานา E3 5 ธันวาคม พ.ศ. 2542
อโศก E4 รถไฟฟ้ามหานคร สายเฉลิมรัชมงคล
สถานีสุขุมวิท
5 ธันวาคม พ.ศ. 2542
พร้อมพงษ์ E5 5 ธันวาคม พ.ศ. 2542
ทองหล่อ E6 5 ธันวาคม พ.ศ. 2542
เอกมัย E7 5 ธันวาคม พ.ศ. 2542
พระโขนง E8 5 ธันวาคม พ.ศ. 2542
อ่อนนุช E9 5 ธันวาคม พ.ศ. 2542
บางจาก E10 พฤษภาคม พ.ศ. 2554
ปุณณวิถี E11 พฤษภาคม พ.ศ. 2554
อุดมสุข E12 พฤษภาคม พ.ศ. 2554
บางนา E13 พฤษภาคม พ.ศ. 2554
แบริ่ง E14 พฤษภาคม พ.ศ. 2554


  • สายสีลม
ชื่อและสีของสถานี รหัสสถานี จุดเปลี่ยนเส้นทาง วันที่เปิดให้บริการ
รถไฟฟ้าบีทีเอส สายสีลม
สนามกีฬาแห่งชาติ W1 5 ธันวาคม พ.ศ. 2542
สยาม CS รถไฟฟ้าบีทีเอส สายสุขุมวิท 5 ธันวาคม พ.ศ. 2542
ราชดำริ S1 5 ธันวาคม พ.ศ. 2542
ศาลาแดง S2 รถไฟฟ้ามหานคร สายเฉลิมรัชมงคล
สถานีสีลม
5 ธันวาคม พ.ศ. 2542
ช่องนนทรี S3 5 ธันวาคม พ.ศ. 2542
สุรศักดิ์ S5 5 ธันวาคม พ.ศ. 2542
สะพานตากสิน S6 5 ธันวาคม พ.ศ. 2542
กรุงธนบุรี S7 15 พฤษภาคม พ.ศ. 2552
วงเวียนใหญ่ S8 15 พฤษภาคม พ.ศ. 2552

[แก้] การเชื่อมต่อกับระบบขนส่งมวลชนอื่น

บริเวณชานชาลา สถานีสยาม
ชานชาลาที่ 2 สถานีสยาม
ภายในรถไฟฟ้า
รถไฟฟ้า บีทีเอส ช่วงศาลาแดง

[แก้] รถไฟฟ้ามหานครสายเฉลิมรัชมงคล

ผู้โดยสารสามารถเปลี่ยนไปใช้รถไฟฟ้ามหานครได้ที่

[แก้] รถไฟฟ้าเชื่อมท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ

ผู้โดยสารสามารถเปลี่ยนไปใช้รถไฟฟ้าเชื่อมท่าอากาศยานสุวรรณภูมิหรือแอร์พอร์ทลิงก์ได้ที่ สถานีพญาไท โดยทางการรถไฟแห่งประเทศไทยจะทำการสร้างทางเชื่อมต่อโดยตรงจากตัวสถานีพญาไทของโครงการแอร์พอร์ทลิงก์มาเชื่อมต่อกับสถานีพญาไทของรถไฟฟ้า BTS บริเวณกลางสถานี ซึ่งในอนาคตก็จะมีการติดตั้ง Gate บริเวณกลางสถานีแบบสถานีสยามเพื่อเพิ่มความสะดวกสำหรับผู้ที่จะทำการต่อรถเพื่อเดินทางไปยังท่าอากาศยานนานาชาติสุวรรณภูมิ

[แก้] รถบริการรับส่ง

ผู้ให้บริการรถไฟฟ้าบีทีเอส เคยให้บริการรถโดยสารรับส่งในสถานที่สำคัญบางสถานี หรือที่เรียกว่ารถชัตเทิลบัส (Shuttle Bus) 5 สายดังนี้

โดยบริการรถรับส่งนี้ไม่คิดค่าโดยสาร แต่จำเป็นต้องใช้คูปองซึ่งขอรับได้จากเจ้าหน้าที่จำหน่ายบัตรโดยสารที่สถานี เวลาให้บริการคือ 6.30-22.30 น

ปัจจุบันได้ยกเลิกบริการดังกล่าวทุกเส้นทางตั้งแต่วันที่ 31 สิงหาคม พ.ศ. 2549

[แก้] ท่าเรือ

[แก้] ทางเดินเข้าอาคาร

บางสถานีมีสะพานลอยจากตัวสถานีไปยังอาคารต่างๆ ในบริเวณใกล้เคียง

ส่วนสำหรับสถานีสำโรง กับ สถานีปู่เจ้าสมิงพราย และ สถานีแพรกษา จะสมารถเดินไปยังห้างอิมพีเริยล เวิลด์ สำโรง กับห้างคาร์ฟูร์ สำโรง และห้างบิ๊กซี สมุทรปราการ(ได้ในอนาคต) และสำหรับผู้ที่ต้องการไปยังเซ็นทรัลเวิลด์สามารถใช้เดินทางเดินเชื่อมกันใต้รางรถไฟฟ้าที่เรียกว่า Sky Walk ได้ที่สถานีชิดลมและสถานีสยามได้

[แก้] ส่วนต่อขยาย

ปัจจุบัน รถไฟฟ้าบีทีเอส กำลังอยู่ในช่วงการสร้างส่วนต่อขยายเพิ่มเติม ดังนี้

[แก้] บัตรโดยสาร

บัตรโดยสารรถไฟฟ้า บีทีเอส แบ่งเป็น 2 ประเภท ได้แก่

  1. บัตรโดยสารชนิดแถบแม่เหล็ก มี 2 ประเภท ได้แก่
    1. บัตรประเภทเที่ยวเดียว คิดค่าโดยสารในอัตรา 2 สถานี ต่อ 5 บาท โดยเริ่มต้นที่ 15 บาท สูงสุด 40 บาท สามารถซื้อได้ที่เครื่องจำหน่ายบัตรโดยสารอัตโนมัติชนิดหยอดเหรียญ และใช้ธนบัตร โดยใช้ได้เฉพาะวันที่ซื้อเท่านั้น
    2. บัตรประเภท 1 วัน ราคา 120 บาท ใช้เดินทางได้ไม่จำกัดจำนวนเที่ยวและระยะทาง สามารถซื้อได้ที่ห้องจำหน่ายบัตรโดยสารทุกสถานี
  2. บัตรโดยสารสมาร์ทพาส มี 2 ประเภท ได้แก่
    1. บัตรประเภทเติมเงิน ค่าธรรมเนียมในการออกบัตร 30 บาท เติมเงินในบัตรสูงสุดได้ 2,000 บาท มีอายุการใช้งาน 5 ปี สามารถซื้อได้ที่ห้องจำหน่ายบัตรโดยสารทุกสถานี
    2. บัตรประเภท 30 วัน ค่าธรรมเนียมในการออกบัตร 30 บาท มีอายุการใช้งาน 5 ปี สามารถซื้อได้ที่ห้องจำหน่ายบัตรโดยสารทุกสถานี แบ่งเป็น 2 ประเภท ได้แก่
      • ราคาโปรโมชั่นสำหรับนักเรียน นักศึกษา แบ่งเป็น 4 ประเภท คือ
    • 15 เที่ยว ราคา 270 บาท
    • 25 เที่ยว ราคา 425 บาท
    • 35 เที่ยว ราคา 560 บาท
    • 45 เที่ยว ราคา 675 บาท
      • ราคาโปรโมชั่นสำหรับบุคคลทั่วไป แบ่งเป็น 4 ประเภท คือ
    • 15 เที่ยว ราคา 345 บาท
    • 25 เที่ยว ราคา 550 บาท
    • 35 เที่ยว ราคา 735 บาท
    • 45 เที่ยว ราคา 900 บาท[5]


ซึ่งบนบัตรโดยสารมีการพิมพ์เป็นลวดลายต่าง ๆ ตามความเหมาะสม และการโฆษณา

ปัจจุบันรถไฟฟ้าบีทีเอส มีบัตรรุ่นใหม่อีก 1 ประเภทเรียกว่า บีทีเอสสมาร์ทพาส (BTS Smart Pass) โดยเป็นบัตรติดตั้งไมโครชิปไร้สายอาร์เอฟไอดี (RFID) ซึ่งเป็นเทคโนโลยีของบัตรสมาร์ตการ์ดแบบไม่มีการสัมผัส (เช่นเดียวกับบัตรโดยสารของรถไฟฟ้ามหานคร บัตรจำหน่ายเหมือนบัตรโดยสารประเภท 30 วัน เริ่มจำหน่ายครั้งแรกวันที่ 5 พฤศจิกายน พ.ศ. 2549 โดยสามารถเริ่มใช้เดินทางได้ตั้งแต่วันที่ 1 ธันวาคม พ.ศ. 2549 ทุกสถานีเป็นต้นไป

[แก้] อุบัติเหตุ

  • วันที่ 20 มกราคม 2553 เวลา 7.40 น. นางจิราภรณ์ เกียรติชูศักดิ์ อายุ 49 ปี พนักงานธนาคารกรุงไทย สาขาชิดลม ชะโงกหน้าสะดุดร่วง ตกลงไปในรางรถไฟฟ้าบีทีเอส บนสถานีหมอชิต โดยผู้เห็นเหตุการณ์เล่าว่า นางจิราภรณ์ยืนแถวหน้าสุดติดกับขอบแนวเส้นเหลืองที่สถานีทำสัญลักษณ์เตือนไม่ให้ผู้ใช้บริการล้ำเข้าไป ก่อนขบวนรถไฟฟ้าจะจอดเทียบชานชาลาสนิท ปรากฏว่านางจิราภรณ์รีบก้าวล้ำไปก่อน เมื่อก้มชะโงกเห็นขบวนรถไฟฟ้ากำลังแล่นเข้ามาจะเทียบชานชาลา ทำให้ตัวเองพลาดสะดุดพื้นกระเบื้องปูนลายไม่เรียบไว้เตือนผู้โดยสารไม่ให้ล้ำแนวความปลอดภัยเซตกลงไปในรางตัดหน้าขบวนรถไฟฟ้าที่แล่นเข้ามาถึงอย่างเฉียดฉิว เจ้าหน้าที่ต้องนำเชือกมาวางแนวกั้นไม่ให้ล้ำเข้าไปในพื้นที่เสี่ยง ก่อนหยุดเดินรถชั่วคราวทั้ง 2 ฝั่ง พร้อมตัดกระแสไฟฟ้าบนราง เพื่อให้เจ้าหน้าที่กู้ชีพศูนย์นเรนทรลงไปช่วยเหลือ ในระหว่างเกิดเหตุได้ปิดการเดินรถเป็นการชั่วคราว ระหว่างสถานีหมอชิตและสถานีสะพานควาย เป็นเวลา 30 นาที จากนั้นเปิดให้บริการตามปกติในเวลา 08.18 น.

หลังจากเกิดอุบัติเหตุครั้งนี้ ทางบีทีเอสจึงมีการเพิ่มมาตรการความปลอดภัยกับผู้โดยสาร โดยให้พนักงานควบคุมรถบีบแตรก่อนเข้าสถานีที่มีคนรอจำนวนมากหรือในชั่วโมงเร่งด่วน มีประกาศเป็นระยะ มีโฆษณาเรื่องความปลอดภัย และมีเจ้าหน้าที่กั้นไม่ให้ผู้โดยสารขึ้นไปชั้นชานชาลาหากมีคนรอจำนวนมาก[6]

[แก้] อ้างอิง

[แก้] แหล่งข้อมูลอื่น