ประเทศอินโดนีเซีย

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

Republik Indonesia
เรปูบลิก อินโดเนเซีย
สาธารณรัฐอินโดนีเซีย
ธงชาติอินโดนีเซีย ตราแผ่นดินของอินโดนีเซีย
ธงชาติ ตราแผ่นดิน
คำขวัญBhinneka Tunggal Ika
(ชวาเก่า/กาวี: "เอกภาพท่ามกลางความหลากหลาย")
เพลงชาติอินโดเนเซีย รายา
ที่ตั้งของอินโดนีเซีย
เมืองหลวง
(และเมืองใหญ่สุด)
จาการ์ตา

6°08′S 106°45′E

ภาษาทางการ ภาษาอินโดนีเซีย
รัฐบาล สาธารณรัฐ
  ประธานาธิบดี
รองประธานาธิบดี
ซูซีโล บัมบัง ยูโดโยโน
จูซุฟ คัลลา
เอกราช
  ประกาศ
เป็นที่ยอมรับ
จาก เนเธอร์แลนด์
17 สิงหาคม พ.ศ. 2488
27 ธันวาคม พ.ศ. 2492 
เนื้อที่
 -  ทั้งหมด 1,860,360 กม.² (ลำดับที่ 16)
 -  พื้นน้ำ (%) 4.85%
ประชากร
 -  2548 ประมาณ 222,781,000 (อันดับที่ 4)
 -  2543 สำรวจ 206,264,595 
 -  ความหนาแน่น 116/กม.² (อันดับที่ 84)
GDP (PPP) 2548 ประมาณ
 -  รวม 977.4 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ (อันดับที่ 15)
 -  ต่อประชากร 4,458 ดอลลาร์สหรัฐ (อันดับที่ 110)
HDI (2546) 0.697 (กลาง) (อันดับที่ 110)
สกุลเงิน รูเปียห์ (IDR)
เขตเวลา มีหลายเขต (UTC+7 to +9)
 -  ฤดูร้อน (DST) not observed (UTC+7 to +9)
รหัสอินเทอร์เน็ต .id
รหัสโทรศัพท์ +62

อินโดนีเซีย หรือชื่อทางการคือ สาธารณรัฐอินโดนีเซีย (อินโดนีเซีย:Republik Indonesia)เป็นหมู่เกาะที่ใหญ่ที่สุดในโลก และเป็นประเทศเดียวในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ที่ตั้งอยู่ระหว่างคาบสมุทรเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และทวีปออสเตรเลีย และระหว่างมหาสมุทรอินเดีย และแปซิฟิก มีพรมแดนติดกับประเทศมาเลเซียบนเกาะบอร์เนียว (อินโดนีเซีย: กาลิมันตัน), ประเทศปาปัวนิวกินีบนเกาะนิวกินี (อินโดนีเซีย: อิเรียน) และ ประเทศติมอร์ตะวันออกบนเกาะติมอร์

เนื้อหา

[แก้] ประวัติศาสตร์

อินโดนีเซียประกอบด้วยหมู่เกาะที่มีความเจริญรุ่งเรืองมาช้านาน แต่ต่อมาต้องตกอยู่ภายใต้การปกครองของเนเธอร์แลนด์อยู่นานประมาณ 300 ปี ในเดือนมกราคม พ.ศ. 2485 ซึ่งเป็นช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 ญี่ปุ่นบุกอินโดนีเซีย และทำการขับไล่เนเธอร์แลนด์เจ้าอาณานิคมของอินโดนีเซียออกไปได้สำเร็จ จึงทำให้ผู้นำอินโดนีเซียคนสำคัญ ๆ ในสมัยนั้นให้ความร่วมมือกับญี่ปุ่น แต่ไม่ได้ให้ความไว้วางใจกับญี่ปุ่นมากนัก เพราะมีเหตุเคลือบแคลง คือ เมื่อมีผู้รักชาติชาวอินโดนีเซียจัดตั้งขบวนการต่าง ๆ ขึ้นมา ญี่ปุ่นจะขอเข้าร่วมควบคุมและดำเนินงานด้วย

เมื่อญี่ปุ่นแพ้สงครามและประกาศยอมจำนนต่อฝ่ายพันธมิตร อินโดนีเซียได้ถือโอกาสประกาศเอกราชในวันที่ 17 สิงหาคม พ.ศ. 2488 แต่เนเธอร์แลนด์เจ้าอาณานิคมเดิมไม่ยอมรับการประกาศเอกราชของอินโดนีเซีย จึงยกกองทัพเข้าปราบปราม ผลจากการสู้รบปรากฏว่าเนเธอร์แลนด์ไม่สามารถปราบปรามกองทัพอินโดนีเซีย อังกฤษซึ่งเป็นพันธมิตรกับเนเธอร์แลนด์จึงเข้ามาช่วยไกล่เกลี่ยเพื่อให้ยุติความขัดแย้งกัน โดยให้ทั้งสองฝ่ายลงนามในข้อตกลงลิงกัดยาติ (Linggadjati Agreement) เมื่อ พ.ศ. 2489 โดยเนเธอร์แลนด์ยอมรับอำนาจของรัฐบาลอินโดนีเซียในเกาะชวาและสุมาตรา ต่อมาภายหลัง เนเธอร์แลนด์ได้ละเมิดข้อตกลง โดยได้นำทหารเข้าโจมตีอินโดนีเซีย ทำให้ประเทศอื่น ๆ เช่นออสเตรเลีย และอินเดียได้ยื่นเรื่องให้คณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติเข้าจัดการ สหประชาชาติได้เข้าระงับข้อพิพาท โดยตั้งคณะกรรมการประกอบด้วย ออสเตรเลีย เบลเยียม และสหรัฐอเมริกา เพื่อทำหน้าที่ไกล่เกลี่ยประนีประนอม และได้เรียกร้องให้มีการหยุดยิง แต่เนเธอร์แลนด์ได้เข้าจับกุมผู้นำคนสำคัญของอินโดนีเซีย คือ ซูการ์โนและฮัตตาไปกักขัง ต่อมาทหารอินโดนีเซียนำตัวผู้นำทั้งสองออกมาได้ ในระยะนี้ทุกประเทศทั่วโลกต่างตำหนิการกระทำของเนเธอร์แลนด์อย่างยิ่ง และคณะมนตรีความมั่นคงได้กดดันให้เนเธอร์แลนด์มอบเอกราชแก่อินโดนีเซีย

ในวันที่ 27 ธันวาคม พ.ศ. 2492 อินโดนีเซียได้รับเอกราช แต่ความยุ่งยากยังคงมีอยู่ เนื่องจากเนเธอร์แลนด์ไม่ยินยอมให้รวมดินแดนอิเรียนตะวันตกเข้ากับอินโดนีเซีย ทั้งสองฝ่ายจึงต่างเตรียมการจะสู้รบกันอีก ผลที่สุด เนเธอร์แลนด์ก็ยอมโอนอำนาจให้สหประชาชาติควบคมดูแลดินแดนอิเรียนตะวันตก และให้ชาวอิเรียนตะวันตกแสดงประชามติว่าจะรวมกับอินโดนีเซียหรือไม่ ผลการออกเสียงประชามติ ปรากฏว่าชาวอิเรียนตะวันตกส่วนใหญ่ต้องการรวมกับอินโดนีเซีย สหประชาชาติจึงโอนอิเรียนตะวันตกให้อยู่ในความปกครองของอินโดนีเซียเมื่อเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2506

[แก้] การเมืองการปกครอง

ประเทศอินโดนีเซียมีการปกครองระบอบประชาธิปไตยแบบสาธารณรัฐ มีประธานาธิบดีเป็นประมุขและทำหน้าที่ปกครองประเทศ

[แก้] การแบ่งเขตการปกครอง

ปัจจุบันประเทศอินโดนีเซียแบ่งเขตการปกครองออกเป็น 30 จังหวัด (provinces - propinsi-propinsi) 2 เขตปกครองพิเศษ* (special regions - daerah-daerah istimewa) และ 1 เขตนครหลวงพิเศษ** (special capital city district - daerah khusus ibukota) โดยมีเมืองหลวงหรือเมืองหลักของแต่ละจังหวัด ได้แก่

แผนที่แสดงจังหวัดของประเทศอินโดนีเซีย

[แก้] ภูมิศาสตร์

ภูมิประเทศ ประเทศอินโดนีเซียเป็นประเทศที่ประกอบด้วยหมู่เกาะต่าง ๆ มีเกาะใหญ่น้อยเกือบ 18,000 เกาะ มีภูเขาสูงอยู่ตามเกาะต่าง ๆ โดยทั่วไปเทือกเขาที่มีความสูงมาก ตามบริเวณเขามักมีภูเขาไฟและมีที่ราบรอบเทือกเขาชายเกาะมีความสูงใกล้เคียงกับระดับน้ำทะเลทำให้มีที่ราบบางแห่งเต็มไปด้วยหนอง บึง ใช้ประโยชน์ไม่ได้

ภูมิอากาศ ลักษณะอากาศแบบศูนย์สูตรมีฝนตกชุกตลอดปี แต่อุณหภูมิไม่สูงมากนัก (ประมาณ 24-30 องสาเซลเซียส) เพราะพื้นที่เป็นเกาะจึงได้รับอิทธิพลจากทะเลอย่างเต็มที่

[แก้] ทรัพยากรและเศรษฐกิจ

ป่าไม้ พื้นที่ส่วนใหญ่เป็นป่าดงดิบ เป็นประเทศที่มีป่าไม้มากที่สุด ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ผลิตผลจากป่าไม้ส่วนใหญ่เป็นไม้เนื้อแข็ง แร่ธาตุ แร่ธาตุที่สำคัญ ได้แก่ น้ำมันปิโตรเลียมทำรายได้ให้กับ ประเทศมากที่สุด อินโดนีเซียเป็นสมาชิกขององค์การประเทศผู้ส่งน้ำมันเป็น สินค้าออก เกษตรกรรม มีการปลูกพืชแบบขั้นบันได พืชเศรษฐกิจ ได้แก่ข้าว ยาสูบ ข้าวโพด เครื่องเทศ ประมง ลักษณะภูมิประเทศเป็นหมู่เกาะทำใหอินโดนีเซียสามารถจับสัตว์น้ำได้มาก อุตสาหกรรม อุตสาหกรรมที่สำคัญ ได้แก่ การกลั่นน้ำมัน การต่อเรือ เป็นต้น

[แก้] ความสัมพันธ์กับประเทศไทย

ประเทศไทยและอินโดนีเซียมีความสัมพันธ์ทางการทูตที่ดีต่อกันมาโดยตลอด และให้ความช่วยเหลือซึ่งกันและกัน อินโดนิเซียเป็นสมาชิกสมาคมอาเซียนเหมือนประเทศไทย และมีสำนักงานใหญ่ขององค์การอาเซียนตั้งอยู่ที่กรุงจาการ์ตามีประชากรมาก

Commons

ภาษาอื่น