กรมประชาสัมพันธ์

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

กรมประชาสัมพันธ์

PRD Thailand Logo.png

กรมประชาสัมพันธ์ ของประเทศไทย เป็นหน่วยงานประชาสัมพันธ์ของรัฐบาลไทย ในสังกัดสำนักนายกรัฐมนตรี มีหน้าที่เสริมสร้างความเข้าใจ ระหว่างหน่วยงานรัฐ กับประชาชน และระหว่างประชาชน กับประชาชนด้วยกัน นอกจากนี้ ยังทำหน้าที่โน้มน้าวชักจูงประชาชน ให้ร่วมมือกับรัฐบาล และหน่วยงานราชการ

เนื้อหา

[แก้] ประวัติ

กรมประชาสัมพันธ์ มีวิวัฒนาการมาจาก “กองโฆษณาการ” ก่อตั้งเมื่อวันที่ 3 พฤษภาคม พ.ศ. 2476 ภายหลังการเปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ. 2475 ต่อมาได้เปลี่ยนชื่อเป็น “สำนักงานโฆษณาการ” เมื่อวันที่ 9 ธันวาคม ปีเดียวกัน เปลี่ยนชื่อเป็น “กรมโฆษณาการ” เมื่อวันที่ 5 กรกฎาคม พ.ศ. 2483 และเปลี่ยนชื่อเป็น “กรมประชาสัมพันธ์” ดังเช่นปัจจุบันเมื่อวันที่ 8 มีนาคม พ.ศ. 2495

[แก้] ตราสัญลักษณ์

ตามประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี ซึ่งปรากฏในราชกิจจานุเบกษา ตอนที่ 7 เล่มที่ 64 ลงวันที่ 4 กุมภาพันธ์ 2490 กำหนดเครื่องหมายราชการ "กรมโฆษณาการ" ให้เป็นรูปพระอินทร์เป่าสังข์เหาะลอยอยู่เหนือเมฆ มีวงกลมล้อมรอบ โดยอิงตามคติในวรรณคดีโบราณว่า พระอินทร์มีหน้าที่เป่าสังข์ชื่อ "ปาญจนันท์" ปลุกพระนารายณ์ให้ตื่นจากบรรทมสินธุ์ในสะดือทะเล เพื่อขึ้นมาปราบเหตุร้ายต่างๆ ในโลก และโดยความเชื่อในศาสนาฮินดู สังข์ถือว่าเป็นมงคล 3 ประการ คือ ถือกำเนิดจากพระพรหม ท้องสังข์เคยเป็นที่ซ่อนคัมภีร์พระเวท และตัวสังข์มีรอยนิ้วพระหัตถ์ของ พระนารายณ์ ในพิธีทางศาสนาพราหมณ์จึงมีการเป่าสังข์เพื่อความเป็นศิริมงคลด้วย สอดคล้องกับหลักการประชาสัมพันธ์ที่เป็นการเผยแพร่ ชี้แจงประชาชนเข้าใจอย่างกว้างขวาง และสร้างความเข้าใจอันดี จึงเปรียบได้กับการเป่าสังข์เพื่อเรียกประชุมของเทวดา ตราสัญลักษณ์นี้ใช้สีม่วง ซึ่งเป็นสีของงานประชาสัมพันธ์เป็นสีหลักของตรา และใช้มาจนกระทั่งเป็นกรมประชาสัมพันธ์ในปัจจุบัน[2][3]

[แก้] ที่ตั้งสำนักงาน

สำนักงานกรมประชาสัมพันธ์ เดิมตั้งอยู่ที่ อาคารหัวมุมถนนราชดำเนิน ติดกับกรมสรรพากร และสำนักงานสลากกินแบ่งรัฐบาล เป็นสถานที่เกี่ยวข้องในประวัติศาสตร์ทางการเมืองหลายครั้ง ในการรัฐประหารทุกครั้ง จะเป็นสถานที่แรกๆ ที่ถูกกำลังทหารเข้ายึด รวมทั้งใน เหตุการณ์ 14 ตุลา และ เหตุการณ์พฤษภาทมิฬ ก็ถูกประชาชนเข้ายึด [4] หลังเหตุการณ์พฤษภาทมิฬ อาคารกรมประชาสัมพันธ์ ถูกเพลิงไหม้เสียหายอย่างหนัก จึงย้ายไปตั้งอยู่ที่ ซอยอารีย์สัมพันธ์ ถนนพระรามที่ 6 กรุงเทพมหานคร

[แก้] หน่วยงานในสังกัด

สัญลักษณ์ของ สทท.

[แก้] สำนักประชาสัมพันธ์เขต

กรมประชาสัมพันธ์ ได้ตั้ง สำนักประชาสัมพันธ์เขต (สปข.) จำนวน 8 สำนัก ตามภูมิภาคต่างๆ ดังนี้

นอกจากนี้ ยังได้ตั้ง สำนักงานประชาสัมพันธ์จังหวัด ในทุกจังหวัดทั่วประเทศ

[แก้] แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้] อ้างอิง