ชวน หลีกภัย

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

ชวน หลีกภัย
ชวน หลีกภัย

ดำรงตำแหน่ง
23 กันยายน พ.ศ. 2535 – 12 กรกฎาคม พ.ศ. 2538
สมัยก่อนหน้า อานันท์ ปันยารชุน
สมัยถัดไป บรรหาร ศิลปอาชา
ดำรงตำแหน่ง
9 พฤศจิกายน พ.ศ. 2540 – 17 พฤศจิกายน พ.ศ. 2543
สมัยก่อนหน้า พลเอกชวลิต ยงใจยุทธ
สมัยถัดไป พันตำรวจโททักษิณ ชินวัตร

ดำรงตำแหน่ง
26 มกราคม พ.ศ. 2534 – 4 พฤษภาคม พ.ศ. 2546
สมัยก่อนหน้า พิชัย รัตตกุล
สมัยถัดไป บัญญัติ บรรทัดฐาน

เกิด 28 กรกฎาคม พ.ศ. 2481 (อายุ 71 ปี)
ตำบลท้ายพรุ อำเภอเมืองตรัง จังหวัดตรัง
สังกัดพรรค พรรคประชาธิปัตย์
สมรสกับ ภักดิพร สุจริตกุล (ไม่ได้จดทะเบียนสมรสด้วยกัน)
ลายมือชื่อ Thai-PM-chuan signature.png

นายชวน หลีกภัย (ชื่อจีน: 呂基文 Lǚ Jīwén; 28 กรกฎาคม พ.ศ. 2481 — ) นายกรัฐมนตรีของประเทศไทยคนที่ 20 เป็นนายกรัฐมนตรีสองสมัยใน คณะรัฐมนตรีคณะที่ 50 และ คณะรัฐมนตรีคณะที่ 53 ปัจจุบันเป็นประธานสภาที่ปรึกษาพรรคประชาธิปัตย์ นายชวนเป็นนายกรัฐมนตรีพลเรือนคนแรกอย่างแท้จริงนับตั้งแต่กลางทศวรรษ 1970 และมีชื่อเสียงเรื่องความซื่อสัตย์กับความประพฤติที่ไม่ด่างพร้อย[1]

เนื้อหา

[แก้] ประวัติ

นายชวน หลีกภัย เกิดเมื่อวันที่ 28 กรกฎาคม พ.ศ. 2481 ที่ตำบลท้ายพรุ [2]อำเภอเมือง จังหวัดตรัง เป็นบุตรคนที่ 3 ในจำนวน 9 คน ของนายนิยม หลีกภัย และนางถ้วน หลีกภัย เมื่อยังเด็ก นายชวนมีชื่อเรียกในครอบครัวว่า "เอียด" หมายถึง เล็ก เนื่องจากเป็นคนรูปร่างเล็ก

มีบุตรชายกับนางภักดิพร สุจริตกุล หนึ่งคน คือ นายสุรบถ หลีกภัย[3]

นายชวน หลีกภัย เคยดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีสองสมัย สมัยแรกระหว่างปี พ.ศ. 2535-2538 (ครม.คณะที่ 50) สมัยที่สองระหว่างปี พ.ศ. 2540-2544 (ครม.คณะที่ 53) และเคยดำรงตำแหน่งเป็น หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ ติดต่อกัน 3 สมัย ระหว่างปี พ.ศ. 2534-2546 เป็นเวลารวม 12 ปี

[แก้] ประวัติการศึกษา และวุฒิกิตติมศักดิ์

[แก้] ประวัติการทำงาน

นายชวน หลีกภัยได้เริ่มต้นชีวิตการทำงานโดยการเป็นทนายความ และต่อมาได้เป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร จังหวัดตรัง ในสังกัดพรรคประชาธิปัตย์ และได้มาเป็นหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ในปี พ.ศ. 2534 ชวน หลีกภัย ได้เคยดำรงตำแหน่ง รัฐมนตรีว่าการมาหลายกระทรวง ซึ่งได้แก่ กระทรวงยุติธรรม กระทรวงพาณิชย์ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กระทรวงศึกษาธิการ และกระทรวงสาธารณสุข รวมถึง รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ประธานสภาผู้แทนราษฎร และผู้นำฝ่ายค้าน ในปี พ.ศ. 2533 ชวน หลีกภัย ได้ขึ้นดำรงตำแหน่งเป็นรองนายกรัฐมนตรี และต่อมาในปี พ.ศ. 2535 ได้ขึ้นดำรงตำแหน่ง นายกรัฐมนตรี สมัยที่ 1 และวันที่ 9 พฤศจิกายน พ.ศ. 2540 ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีเป็นสมัยที่ 2 พร้อมควบตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ทั้งนี้นับตั้งแต่การเปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ. 2475 เป็นต้นมา นายชวนเป็นพลเรือนคนที่สอง นับจาก ม.ร.ว. เสนีย์ ปราโมช ที่ดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงนี้ ทั้งหมดดูที่ประวัติการทำงานของพรรคประชาธิปัตย์

ในเหตุการณ์ 6 ตุลา ถูกกล่าวหาว่าเป็นคอมมิวนิสต์พร้อมกับรัฐมนตรีในพรรคประชาธิปัตย์อีก 2 คน คือ นายดำรง ลัทธพิพัฒน์ และ นายสุรินทร์ มาศดิตถ์


สรุปประวัติทางการเมือง

  • สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (สมัยแรก) พ.ศ. 2512
  • สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (สมัยที่สอง) พ.ศ. 2518
  • รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงยุติธรรม พ.ศ. 2518
  • สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (สมัยที่สาม) พ.ศ. 2519
  • รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี พ.ศ. 2519
  • รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม พ.ศ. 2519
  • สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (สมัยที่สี่) พ.ศ. 2522
  • รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม พ.ศ. 2523
  • รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ พ.ศ. 2524
  • รัฐมนตรว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ พ.ศ. 2525-2526
  • สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (สมัยที่ห้า) พ.ศ. 2526
  • สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (สมัยที่หก) พ.ศ. 2529
  • ประธานสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ. 2529-2531
  • สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (สมัยที่เจ็ด) พ.ศ. 2531
  • รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข พ.ศ. 2531-2532
  • รองนายกรัฐมนตรี พ.ศ. 2532 - 26 ส.ค.2533
  • รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ พ.ศ. 2533 (ส.ค.-ธ.ค.2533)
  • หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ (26 ม.ค.2534 - 4 พ.ค. 2546)
  • สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (สมัยที่แปด) พ.ศ. 2535 (22 มี.ค.2535)
  • สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (สมัยที่เก้า) พ.ศ. 2535 (13 ก.ย.2535)
  • นายกรัฐมนตรี พ.ศ. 2535 (23 ก.ย.2535 - 20 ก.ค.2538)
  • สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (สมัยที่สิบ) พ.ศ. 2538 (2 ก.ค.2538)
  • ผู้นำฝ่ายค้านในสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ. 2538 (4 ส.ค.2538)
  • สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (สมัยที่สิบเอ็ด) พ.ศ. 2539 (17 พ.ย.2539)
  • ผู้นำฝ่ายค้านในสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ. 2539 (21 ธ.ค.2539)
  • นายกรัฐมนตรี พ.ศ. 2540 (9 พ.ย.2540 - 8 ก.พ.2544)
  • รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม พ.ศ. 2540 (14 พ.ย.2540-18 ก.พ.2544)
  • สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (สมัยที่สิบสอง) พ.ศ. 2544 (6 ม.ค.2544)
  • ผู้นำฝ่ายค้านในสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ. 2544 (11 มี.ค.2544)
  • ประธานสภาที่ปรึกษาพรรคประชาธิปัตย์ (พ.ศ. 2546 - ปัจจุบัน)

[แก้] นายกรัฐมนตรีของประเทศไทย

การอภิปรายในสภา ของนายชวน หลีกภัย
  • วันที่ 23 กันยายน พ.ศ. 2535 ถึง 19 พฤษภาคม พ.ศ. 2538

นายชวน หลีกภัย ก้าวขึ้นมาเป็นนายกรัฐมนตรีในสมัยแรก ดำรงตำแหน่งระหว่างเป็นนายกรัฐมนตรีไทยคนที่ 20 และยังเป็นนายกรัฐมนตรีคนแรกของไทยที่มาจากการเลือกตั้ง สิ้นสุดตำแหน่งนายกรัฐมนตรีโดยการยุบสภา

  • วันที่ 9 พฤศจิกายน พ.ศ. 2540 - 17 พฤศจิกายน พ.ศ. 2543

นายชวน หลีกภัย ได้ดำรงตำแหน่งเป็นนายกรัฐมนตรีในสมัยที่สอง โดยรับช่วงต่อหลังจาก พลเอก ชวลิต ยงใจยุทธ ลาออกจากตำแหน่งเนื่องจากเกิดปัญหาเศรษฐกิจอย่างหนักจนต้องลอยตัวค่าเงินบาท กองทัพไม่ได้ต่อต้านการคืนสู่ตำแหน่งของเขา นายชวนได้แต่งตั้งคณะทำงานด้านเศรษฐกิจที่น่าเชื่อถือจนได้รับความเชื่อถือและเห็นชอบจากสถาบันการเงินนานาชาติและสหรัฐอเมริกา มุ่งไปสู่การฟื้นตัวทางเศรษฐกิจ อีกทั้งรัฐบาลผสมก็เอาชนะความพยายามของฝ่ายค้านในการอภิปรายไม่ไว้วางใจ แม้นายชวนจะไม่ใช่นักการเมืองที่น่าดึงดูดใจ แต่ก็ได้รับการสนับสนุนและไว้วางใจ เพราะถูกมองว่าซื่อสัตย์ มุ่งปฏิรูประบอบประชาธิปไตยและขจัดการฉ้อราษฎร์บังหลวง[1]

การดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีในสมัยที่สอง ถูกวิพากษ์วิจารณ์ว่าไม่เคารพกติกาประชาธิปไตย[ต้องการอ้างอิง] เนื่องจากรัฐบาลจัดตั้งขึ้น โดยกลุ่มของพรรคการเมืองฝ่ายค้าน ขณะที่ฝ่ายรัฐบาลเดิมสนับสนุนให้ พล.อ. ชาติชาย ชุณหะวัณ หัวหน้าพรรคชาติพัฒนาขึ้นดำรงตำแหน่งแทน โดยการสนับสนุนของพรรคความหวังใหม่ (125 คน) พรรคชาติพัฒนา (52 คน) พรรคประชากรไทย (18 คน) และ พรรคมวลชน (2 คน) รวม 197 เสียง ส่วนฝ่ายค้านเดิมนำโดยพรรคประชาธิปัตย์ (123 คน) ร่วมกับพรรคชาติไทย (39 คน) พรรคเอกภาพ (8 คน) พรรคพลังธรรม (1 คน) พรรคไท (1 คน) และพรรคร่วมรัฐบาลเดิมได้แก่พรรคกิจสังคม (20 คน) และพรรคเสรีธรรม (4 คน) สนับสนุนนายชวน หลีกภัย ด้วยเสียงทั้งสิ้นรวม 196 เสียง ซึ่งน้อยกว่าฝ่ายรัฐบาล 1 เสียง[4]

การดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีของนายชวน หลีกภัย ก่อให้เกิดกลุ่มการเมือง ที่ถูกตั้งชื่อว่า กลุ่มงูเห่า ซึ่งเป็นสมาชิกพรรคประชากรไทยจำนวน 12 คนที่เข้าร่วมสนับสนุนรัฐบาล โดยคำชวนของ พล.ต. สนั่น ขจรประศาสน์ จนกระทั่งถูกพรรคประชากรไทยมีมติขับไล่ ทั้ง 12 ออกจากการเป็นสมาชิกพรรค และส่งผลให้สิ้นสุดสถานภาพ ส.ส.ตามกฎหมาย กลุ่มงูเห่าทั้ง 12 คน ได้ยื่นคำร้องต่อศาลรัฐธรรมนูญ ศาลรัฐธรรมนูญมีคำวินิจฉัยว่ามติดังกล่าวเป็นมติที่ไม่ชอบ ขัดต่อการปฏิบัติหน้าที่ของ ส.ส.ตามรัฐธรรมนูญ ส่งผลให้ ส.ส.ทั้ง 12 คน ยังคงสถานภาพ และหาพรรคใหม่สังกัด

นอกจากกรณีกลุ่มงูเห่าแล้ว ยังมีกรณีรัฐมนตรีร่วมรัฐบาลที่ได้รับการตัดสินว่ามีความผิดทางการเมืองอีก 2 ท่าน ได้แก่ นายรักเกียรติ สุขธนะ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขและ พลตรีสนั่น ขจรประศาสน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย โดยนายรักเกียรติ สุขธนะ (พรรคชาติไทย) ได้รับคำพิพากษาตัดสินจาก ศาลฎีกาแผนกคดีอาญาผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง ให้จำคุกเป็นเวลา 5 ปี ฐานเรียกรับสินบนบริษัทยา ทีเอ็น พี เฮลท์ แคร์ จำกัด ซึ่งนับว่าเป็นรัฐบาลชุดแรกที่รัฐมนตรีร่วมรัฐบาล ได้รับโทษถึงที่สุดให้จำคุกจากการทุจริตในระหว่างการดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีในคณะร้ฐบาล

นอกจากนี้ พล.ต.สนั่น ขจรประศาสน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย ของรัฐบาลนายชวน หลีกภัยและเลขาธิการพรรคประชาธิปัตย์ ก็ได้รับคำพิพากษาจากศาลรัฐธรรมนูญ ห้ามยุ่งเกี่ยวกับการเมืองเป็นเวลา 5 ปี จากการรายงานบัญชีทรัพย์สินตกหล่น

การจัดตั้งรัฐบาลสมัยที่สองของนายชวนนี้ ได้รับการสนับสนุนจากประชาชนส่วนใหญ่ โดยเฉพาะชนชั้นกลางใน กทม. เนื่องจากคาดว่ารัฐบาลนายชวน หลีกภัย จะสามารถฉุดประเทศไทยออกจากวิกฤตเศรษฐกิจที่เริ่มขึ้นในรัฐบาลของ พล.อ. ชวลิต ยงใจยุทธ แต่การแก้ปัญหาทางเศรษฐกิจของรัฐบาลนายชวน หลีกภัยไม่บรรลุผลไม่สามารถดึงเศรษฐกิจให้หลุดพ้นจากภาวะการตกต่ำได้ทันใจ ความต้องการของประชาชน ทำได้แค่นำคนไข้ออกจากห้องฉุกเฉิน เข้าพักฟื้นในห้องคนป่วยปกติ แม้ว่าจะได้ดำเนินการมากว่า 3 ปี นอกจากนี้ นโยบายพรรคไทยรักไทย ยังเป็นที่ดึงดูดใจของประชาชน เช่น ปลดหนึ้เกษตรกร หนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ และ สามสิบบาทรักษาทุกโรค ในการเลือกตั้งทั่วไปครั้งถัดมาในปี พ.ศ. 2544 ทำให้การเลือกตั้งครั้งนี้พรรคประชาธิปัตย์การพ่ายแพ้ต่อพรรคไทยรักไทย และนายชวน ต้องกลับมาเป็นฝ่ายค้าน

[แก้] คำยกย่องและคำวิจารณ์

นายชวน หลีกภัย ขณะปราศรัยหาเสียงที่จังหวัดตรัง ในการเลือกตั้งในปี พ.ศ. 2512 ซึ่งนายชวนลงสมัครเป็นครั้งแรก โดยมี หม่อมราชวงศ์เสนีย์ ปราโมช (ชุดขาว) หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ขณะนั้น นั่งไขว่ห้างฟังอยู่ข้างล่าง

[แก้] คำยกย่อง

  • ยึดมั่นในหลักการประชาธิปไตย และยึดถือในเรื่องของหลักการเป็นอย่างมาก[ต้องการอ้างอิง]
  • เป็นนักการเมืองที่มือสะอาด จนได้รับฉายา Mr. Clean (นายสะอาด) [5] นอกจากนี้ภาพที่พบจากสื่อมักแสดงให้เห็นว่าใช้ชีวิตอย่างสมถะ[ต้องการอ้างอิง]
  • เป็นนายกรัฐมนตรีคนแรกที่กล้าประกาศว่า รมต. ว่าการกระทรวงกลาโหม ไม่จำเป็นต้องเป็นทหาร แสดงให้เห็นถึงบุคลิกผู้นำและบริหารปราศจากอำนาจของทหารได้เป็นอย่างดี

[แก้] คำวิจารณ์

  • ชวน หลีกภัยมักออกรับประกันแทนลูกพรรคที่ได้รับการวิจารณ์ว่าเกี่ยวข้องกับการทุจริต เปรียบเสมือนกับการทาสีดำให้เป็นขาวจนได้รับสมญานาม "ช่างทาสี" ในการตั้งสมญาประจำปีของผู้สื่อข่าวประจำทำเนียบรัฐบาล ในปี พ.ศ. 2545 ชวนได้สมญาว่าเป็น "แผ่นเสียงตกร่อง" [ต้องการอ้างอิง]
  • ได้รับคำวิจารณ์ว่าทำงานช้า โดยมีคำพูดที่ถูกนำไปล้อเลียนประจำคือ "ผมยังไม่ได้รับรายงาน" "ทุกอย่างต้องเป็นไปตามขั้นตอน" "อันนี้ผมกำลังพิจารณาอยู่"
  • ในช่วงเดือนปลายปี 2547 ภายหลังเหตุการณ์สึนามิ ชวน หลีกภัย ให้สัมภาษณ์เกี่ยวกับการขอใช้งบประมาณ 2 หมื่นล้านบาทในการช่วยเหลือผู้ประสบภัยของรัฐบาลว่าเป็นสิ่งที่จำเป็น และให้ความเห็นว่า การใช้งบประมาณนี้ ในการช่วยเหลือภาคใต้ ยิ่งเป็นสิ่งที่จำเป็น เพราะว่ารัฐบาลละเลยไม่ดูแลพื้นที่ดังกล่าวมาตลอดสี่ปี เพื่อเป็นการแก้เผ็ด ที่ไม่เลือกรัฐบาล [ต้องการอ้างอิง]
  • กรณีขายสินทรัพย์ ปรส. และ "กฎหมายขายชาติ" 12 ฉบับ มีการโจมตีกันอย่างมากแต่จนแล้วจนรอด ข้อกล่าวหากฎหมายเหล่านี้เป็นแค่เกมการเมือง จะเห็นได้ชัดว่ารัฐบาลยุคต่อไปของทักษิณก็ยังใช้อยู่ [ต้องการอ้างอิง]

[แก้] บทบาททางการเมืองภายหลังพ้นตำแหน่งนายกรัฐมนตรี

หลังจากการเลือกตั้ง พ.ศ. 2544 นายชวน หลีกภัย กลับมาเป็นผู้นำฝ่ายค้านอีกครั้ง เมื่อ 14 มีนาคม พ.ศ. 2544 และต้องการ ก้าวลงจากตำแหน่ง หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ ซึ่งจากการลงคะแนนเสียงเลือกตั้งหัวหน้าพรรคใน 2 ปีถัดมาเมื่อวันที่ 20 เมษายน พ.ศ. 2546 นายบัญญัติ บรรทัดฐาน ได้รับเลือก เป็นหัวหน้าพรรค ทำให้รวมแล้วนายชวน หลีกภัย ดำรงตำแหน่งหัวหน้าพรรค 3 สมัยเป็นเวลาทั้งสิ้น 12 ปี

ในการเลือกตั้งครั้งถัดมาเมื่อปี พ.ศ. 2548 หลังจากที่พรรคประชาธิปัตย์ ไม่สามารถได้รับคะแนนเสียงเพียงพอ ต่อการจัดตั้งรัฐบาล แข่งกับพรรคไทยรักไทย นายบัญญัติ บรรทัดฐาน ลาออกจากตำแหน่งตัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ นายชวน หลีกภัย มีบทบาทสำคัญในการผลักดันให้ นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ เข้ามาดำรงตำแหน่งหัวหน้าพรรคแทน

ปัจจุบัน นายชวน หลีกภัย ดำรงตำแหน่ง ประธานสภาที่ปรึกษาพรรคประชาธิปัตย์

[แก้] วาทะของนายชวน หลีกภัย

นายชวน หลีกภัย ได้ชื่อว่าเป็นนักการเมืองที่มีคารมคมคาย โดยเฉพาะในแบบเชือดเฉือน จนได้ฉายาว่า "ใบมีดโกนอาบน้ำผึ้ง" ตัวอย่างวาทะเด็ดของ นายชวน หลีกภัย เช่น

Cquote1.svg

เราไม่อาจทำให้คนทุกคนร่ำรวยเท่าเทียมกันได้ แต่เราสามารถทำให้ทุกคนอยู่ใต้กฎหมายเดียวกันได้

Cquote2.svg
Cquote1.svg

ยอมให้คนโง่ที่คนรอบข้างซื่อสัตย์ปกครองประเทศ ดีกว่าปล่อยให้คนซื่อแต่คนรอบข้างโกงกินปกครองประเทศ

Cquote2.svg
Cquote1.svg

ยังไม่ได้รับรายงาน

Cquote2.svg

[แก้] การดำรงตำแหน่งอื่นๆ

  • อุปนายกสภามหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
  • กรรมการสภามหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
  • กรรมการสภามหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
  • กรรมการสภามหาวิทยาลัยศิลปากร
  • กรรมการสภามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
  • อาจารย์พิเศษแผนกนิติเวช คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

[แก้] รางวัลและเกียรติยศ

  • เครื่องหมายกิตติมศักดิ์ราชนาวิกสภาและประกาศนียบัตรของกองทัพเรือ จากการสนับสนุนการศึกษาของกองทัพเรือ นับเป็นนายกรัฐมนตรีพลเรือนคนแรก ที่ได้รับเครื่องหมายนี้ โดยนายกรัฐมนตรีคนแรกที่ได้รับคือ พล.อ. เปรม ติณสูลานนท์ ประธานองคมนตรีและรัฐบุรุษ

[แก้] เครื่องราชอิสริยาภรณ์


เครื่องราชอิสริยาภรณ์ต่างประเทศ :

[แก้] อ้างอิง

  1. ^ 1.0 1.1 ไมเคิล ลีเฟอร์, จุฬาพร เอื้อรักสกุล (แปล-เรียบเรียง). พจนานุกรมการเมืองสมัยใหม่ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2548. 726 หน้า. ISBN 974-571-921-8
  2. ^ ปัจจุบัน อยู่ในเขตตำบลทับเที่ยง อำเภอเมืองตรัง จังหวัดตรัง
  3. ^ หนังสือกินอยู่เรียบง่าย สบายแบบชาวบ้าน ชวน หลีกภัย ลูกแม่ค้าขายพุงปลา โดย เริงศักดิ์ กำธร (พ.ศ. 2545) ISBN 974-85645-2-5
  4. ^ http://komchadluek.net/e2548/reference/index.php?sub=06&pag=05
  5. ^ Asiaweek Power 50, 2000, เรียกดูเมื่อ 28 มิถุนายน 2551
  6. ^ เนชั่นสุดสัปดาห์ 1 เม.ย. 2542, 'ถนอม' ลาออก 'ชวน' ไม่ขอโทษ ปชป.เปรียบถนอม เทียบรัฐบุรุษปรีดี

[แก้] หมายเหตุ

  • แนวทางการแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจของรัฐบาลนายชวน หลีกภัยได้รับการวิพาร์กวิจารณ์ในแง่ลบจากพวกพรรคการเมืองฝ่ายตรงข้ามเป็นอย่างยิ่ง ซึ่งฝ่ายที่วิจารณ์ วิจารณ์ว่า เปรียบประดุจการรดน้ำต้นไว้ที่ยอด ซึ่งยากที่น้ำจะซึมลงไปสู่รากได้ นอกจากนี้ ภาวะเศรษฐกิจตกต่ำในปี 2540 นักเศรษฐศาสตร์จำนวนมากวิจารณ์ว่า สาเหตุหลักเกิดจาก นโยบายเปิดเสรีทางการเงิน BIBF ที่พรรคประชาธิปัตย์นำมาใช้ในปี 2532 เป็นสาเหตุให้มีการกู้ยืมเงินจากต่างประเทศเข้ามาเป็นจำนวนมาก ในรัฐบาลต่อมาจากรัฐบาลสมัยที่ 1 ในขณะที่มีการกำหนดอัตราแลกเปลี่ยนไว้อย่างตายตัว ทำให้รัฐบาลชวลิตไม่มีทางเลือก และต้องลดค่าเงินบาทในปี 2540 ในช่วงปีสุดท้ายของรัฐบาลนายชวน หลีกภัย ภาคประชาชนต่างๆ ได้ออกมาต่อต้านอย่างรุนแรง และได้มี "คำประกาศอิสรภาพของประเทศไทย" ที่กลุ่มเศรษฐศาสตร์การเมือง ได้จัดประชุมขึ้นที่หอประชุมใหญ่จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยในปี 2544 ดังนั้น ภาวะเศรษฐกิจที่ไม่ฟื้นตัว คนว่างงานจำนวนมาก คำมั่นสัญญาจากรัฐบาลว่าเศรษฐกิจกำลังฟื้น แต่เวลาได้ล่วงเลยมากว่า 3 ปีแล้วทำให้ประชาชนที่ยังไม่เข้าใจเรื่องเศษรฐกิจนัก หันไปสนับสนุนพรรคไทยรักไทย ของพันตำรวจโททักษิณ ชินวัตรมากขึ้น จนทำให้เป็นพรรคการเมืองแรกที่ชนะเลือกตั้งถึงครึ่งหนึ่งของสภาผู้แทนราษฎร (ในเบื้องต้น พรรค.ทรท.ได้ 250 ที่นั่ง เท่ากับครึ่งหนึ่งของสภาที่มีจำนวน 500 ที่นั่ง แต่ผู้สมัครถูกใบแดงไป 2 ที่นั่งจึงลดลงเหลือ 248 ที่นั่ง)
  • ปลายสมัยรัฐบาลนายชวน หลีกภัย จากข้อมูลของธนาคารแห่งประเทศไทยเกี่ยวกับการเบิกจ่ายเงินจากไอเอ็มเอฟ ฐานะเงินคงคลัง และเงินสำรองมีมาก ถึงระดับปลอดภัย ไม่จำเป็นต้องเบิกถอนเงินสถาบัน ไอเอ็มเอฟ ที่ยังมีวงเงินเหลืออยู่ รัฐบาลได้ถอนเงิน 12000 ล้านเหรียญสหรัฐจากวงเงิน 17200 ล้านเหรียญสหรัฐ น่าจะเป็นข้ออ้างอิงว่าฐานะการเงินของประเทศในสมัยรัฐบาลนายชวนนั้น ดีขึ้นแล้ว[ต้องการอ้างอิง]
  • ระยะแรกของรัฐบาลนายชวน แก้ไขปัญหาด้วยการขึ้นอัตราดอกเบี้ยเงินกู้สูงตามคำแนะนำของไอเอ็มเอฟ จนทำให้ธุรกิจจำนวนมากไม่สามารถกู้และชำระหนี้ได้ และโดนล้อเลียนว่า คุณพ่อไอเอ็มเอฟ ภายหลังจึงลดอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ลงเนื่องจากไอเอ็มเอฟออกมายอมรับว่าการขึ้นดอกเบี้ยสูงเป็นนโยบายที่ไม่ถูกต้อง

[แก้] แหล่งข้อมูลอื่น

Commons:Category
คอมมอนส์ มีภาพและสื่ออื่นๆ เกี่ยวกับ:
ชวน หลีกภัย
สมัยก่อนหน้า ชวน หลีกภัย สมัยถัดไป
อานันท์ ปันยารชุน 2leftarrow.png Seal Prime Minister of Thailand.png
นายกรัฐมนตรีของประเทศไทย (สมัยที่ 1 : ครม. 50)
(23 กันยายน พ.ศ. 253513 กรกฎาคม พ.ศ. 2538)
2rightarrow.png บรรหาร ศิลปอาชา
พลเอก ชวลิต ยงใจยุทธ 2leftarrow.png นายกรัฐมนตรีของประเทศไทย (สมัยที่ 2 : ครม. 53)
(9 พฤศจิกายน พ.ศ. 254017 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2544)
2rightarrow.png พันตำรวจโท ทักษิณ ชินวัตร
พิชัย รัตตกุล
พลเอก ชาติชาย ชุณหะวัณ
พงส์ สารสิน
พลเรือเอก สนธิ บุณยะชัย
พลเอก เทียนชัย สิริสัมพันธ์
2leftarrow.png Seal Prime Minister of Thailand.png
รองนายกรัฐมนตรี (ครม. 45)
(29 ธันวาคม พ.ศ. 2532 - 26 สิงหาคม พ.ศ. 2533)
2rightarrow.png บุญเอื้อ ประเสริฐสุวรรณ
เฉลิมพันธ์ ศรีวิกรม์
โกศล ไกรฤกษ์
พลเอก มานะ รัตนโกเศศ
พลเอก อาทิตย์ กำลังเอก
พิชัย รัตตกุล 2leftarrow.png Democrat Party logo.png
หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์
(พ.ศ. 2534 - พ.ศ. 2546)
2rightarrow.png บัญญัติ บรรทัดฐาน